ยินดีต้อนรับทุกท่านที่หลงมาที่นี้ มือสมัครเล่น เล่นด้วยการเขียนเกี่ยวกับม้งที่เป็นเชิงข้อมูลที่ศึกษามาบวกกับความคิดเห็นส่วนตัว อีกส่วนเป็นเรื่องทั่วไปในขณะที่ศึกษาอยู่ จึงหลอมรวมกันเป็นรวมมิตรถ้วยหนึ่ง หากสิ่งไหนท่านไม่เห็นด้วย ก็อย่าลืมฝากคำแนะนำไว้ให้ด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง You might have come here by chance,but I truly welcome you to my blog.This is mainly aimed to review Hmong issues along with my own opinions and attitudes toward matters related to our Hmong society.
Friday, November 28, 2008
เราม้งส่วนหนึ่งไม่ใช้แซ่แต่ใช้นามสกุลที่ตั้งเอง
เปลี่ยนไปตามยุคสมัยการเปลี่ยนแปลงเหรอ..
แล้วจะดีหรอ?
ม้งเราอีกแล้ว...ไม่พ้นจากความคิดเราเลย...
คุณเต้สะกิดฉันให้นึกถึงการเปลี่ยน
นามสกุลของม้งเรา
ฉันอุตส่าห็ทำใจไม่ขอยุ่งแล้วน่ะ...แต่ไม่ได้นะ..
นอนไม่หลับจ้า มาเจอกระทู้ดึกๆจากม้งไทยแลนด์
แหงนหน้ามองจำนวนผู้ออนไลน์ มีเพียงคนเดียว
นึกเลยว่า เราตอนนี้อยู่ในนั้นคนเดียว
มองเวลาก็ต้องนอนแล้ว...แต่ขอหน่อยขอหนุ่ยเสียหน่อย
คัดลอกที่กรอกไปมาใส่ที่นี่
้ม้งเอ่ยม้งจ้า..ม้งไม่ได้เปลี่ยนแซ่เราไปเป็นแซ่อื่นเสียหน่อยใช่มั้ย
แต่เราหันตั้งนามสกุลใหม่เพื่อเขียนนามสกุลที่เราตั้งเองบนกระดาษทางการๆ
ของรัฐอ่ะนะ
สำหรับการเปลี่ยนสะกุลของม้งเรา
ม้งแต่ละกลุ่มมีปัญหาต่างๆกันนะ....
ตัวอย่างเช่น หากม้งกลุ่มๆหนึ่งในไทยมี่เป็นม้งแซ่เดียวกันใช้นามสกุล
"แซ่ย่าง" เหมือนกันหมด แม้จะไม่รู้จักกันแต่ก็ใช้แซ่เดียวกัน ทีนี้หากใครคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนก็ได้ทำอะไรไม่ดี ก็จะส่งความเดือนดร้อนต่อม้งทุกคนที่ใช้ "แซ่ย่าง" ทั่วกันหมด พูดง่ายๆคือ
ประวัติของคนอื่นก็ไม่ดีไปด้วยเลย
เคยมีคนที่บ้านคนหนึ่งนะ...เขาไปสมัครงาน แต่ถูกปฏิเสธ เพราะแชร์นาสกุลเดียวกับคนคนหนึ่งที่ใช้แซ่นี้เคยมีประวัติไม่ดีมาแล้ว คนที่ไปสมัครงานไม่รู้จักกับคนไน้เลย แต่เขาก็ไม่ได้เป็นคุณครูเพราะนี้เหระคะ
ปีต่อมาเขาก็มาเปลี่ยนนามสกุลใช้เฉพาะในครอบครัว....แต่ยังไม่ได้ไปหางานทำที่ไหนเลย...
เห็นว่าทำไร่สตรอเบอรี่รายได้ดีกว่า.....สตรอกำลังออกนะน่าหนาวนี้...อ้าว...คนละเรื่องแล้ว
การเปลี่ยนนี้เป็นที่ให้ผลดีและผลสียนะ
ผลดีก็อย่างที่กล่าวไปด้านบน...ผลเสียก็คือ เราไม่สามารถรับรู้ว่าเขาคนนี้ ม้งอะไร และม้งหรือเปล่า เผลอๆๆ เราหรือลูกๆเรา แลพหลานๆเรา อาจลืมไปด้วยซ้ำว่าเราม้งอะไร....แต่คงไม่อ่ะนะ...หนุ่มสาวม้งเราตระหนักถึงข้อนี้ดี ถามแซ่ทุกทีก่อนพูดจากัน...
การใช้นามสกุลอื่นที่ไม่ใช่แซ่เหมือนกับการสวมหน้ากากเลยอ่ะนะ..
"ป้องกันอันตรายจากภัยนอกด้วย และปกปิดหน้าตาด้วย...."
หรือเปล่าเอ่ยพี่น้อง??????
ม้งเราใช้แซ่เพื่อเป็นตัวบ่งบอกเลือดเนื้อเราว่าสีอะไร หากสีเดียวกัน เราเป็นพี่น้องกัน เราจีบ แต่งกันไม่ได้
คนอินเดียใช้นามสกุลเพียงแค่บ่งบอกวรรณะ ชนชั้น หากเรามีวรรณะที่ต่างกัน เราจะแต่งกันไม่ได้ สังคมไม่ยอมรับ
ยกเว้นแต่คนที่อยู่สูงกว่าเราจะมาขอแต่งกับเราผู้อยู่ต่ำกว่า....อย่างนี้ไม่ค่อยมีให้เห็นนะคะ
กะไม่พูดมากแล้ว...เอ่ยไปคนเดียวอย่างนี้มานาน..ก็ไม่ดีเน้อ
Monday, November 24, 2008
ทำไมผู้หญิงถึงไม่เหมาะสมที่จะปกครอบครองโลก
คุณลุงท่านหนึ่งในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงรายอธิบายว่า"ทำไมผู้ชายถึงสมควรที่จะเป็นผู้ปก
ครองโลก ทำไมไม่ควรเป็น่ผู้หญิง"ด้วยการนำเรื่องเล่าของม้งมาตอบคำถามของฝรั่งคนหนึ่ง
ท่านเริ่มเล่าว่า....
ครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีเมหสีม้งมีสามีทั้งหมดเจ็ดคน ขณะเดียวกันมีกษัตริย์ม้งองค์หนึ่งที่มีพระเมหสีเจ็ดคนเช่นกัน
ทั้งสองกลุ่มนีมีความยากลำบากมากที่จะตัดสินว่าใครระหว่างผู้เป็นสามีหรือภรรยาที่ควรจะ
ปกครองโลกนี้ ในขณะนั้นไม่มีผู้ใดที่จะช่วยตัดสินความขัดแย้งนี้ได้ เหตุนี้เืรื่องจึงได้นำไปสู่เหย่อเซ๊า ฝ่ายภรรยาที่มีสามีเจ็ดคน และฝ่ายสามีที่มีภรรยาเจ็ดคนจึงตัดสินใจไปหาเหย่อเซ้า และต้องการให้ท่านเป็นผู้ตัดสินว่าใครควรเป็นผู้ปกครองโลก
เหย่อเซาเมื่อได้ยินเรื่องดังกล่าวก็เอ่ยไปให้ทั้งสองว่า" ท่านแต่ละคนจะได้รับบททดสอบคนละหนึ่งข้อ เมื่อไรก็ตามที่ท่านทำเสร็จเท่านั้น เมื่อนั้นข้าถึงจะให้คำตัดสินกับเจ้าทั้งสองได้"
จากนั้นท่านกล่าวต่ออีกนิดว่า" กษัตริย์เอ่ย..เจ้าจงกลับมาหาข้าพรุ่งนี้, ส่วนเจ้าผู้เป็นหญิงจงกลับมาหาข้าสองสามวันหลังละกัน"
วันรุ่งขึ้น กษัตริย์องค์นั้นจึงได้ไปหาเหย่อเซา" นี่คือบททดสอบของท่าน ข้าต้องการให้เจ้ากลับไปหาภรรยาของท่าน แล้วตัดหัวของพวกเขา แล้วนำมาให้ข้า" เหย่อเซาพูดอย่างนั้นให้กับกษตริย์ืองค์นี้
ทันทีที่ได้ฟังอย่างนั้น กษัตริย์องค์นี้ก็ไม่ลังเลใจที่จะอยู่ต่อ ตนรีบกลับไปยังพระราชวังของตน
เมื่อถึงบ้านแล้ว กษัตริย์ผู้นี้เห็นภรรยาแต่ละคนของตนกำลังตั้งหน้าตั้งตาให้นมลูกอย่างพร้องเพรียงกันด้วยความรัก เขาคิดถึงบททดสอบของเหย่อเซาว่าเขาได้รับมอบหมายให้ทำอะไร แต่ขณะนั้นเขารู้ว่าเขาไม่สามารถทำตามในสิ่งที่เขาได้รับการสั่งมา และแล้วเขาก็รีบไปหาเหย่อเซา และเรียนให้ท่านทราบว่า" เซ๊า..ข้าพเจ้าไม่สามรถทำตามคำที่ท่านได้บอก ภรรยาของข้าพเจ้ากำลังให้นมลูกๆอยู่กัน หากข้าฆ่าพวกเขา ลูกของข้าคงจะไม่มีนมกิน และพวกเขาก็จะตาย" เหย่อเซ๊าก้มหัวลงนิดๆ แล้วบอกให้กษัตริย์องค์นี้กลับมาหาตนสองสมาวันหลัง
สองวันต่อมา พระมเหสีมาหา่เหย่อเซ๊า " นี่ืคือบททดสอบของท่านนะ ข้าต้้องการให้เจ้ากลับไปหาสามีของท่าน แล้วตัดหัวสามีทั้งหมดของท่านมาให้ข้า" เหย่อเซ๊าพูดอย่างนั้นให้มเหสีคนนั้น
และแล้วมเหสีองค์นี้ก็ไปหาเหย่อเซ๊าพร้อมกับหัวทั้งเจ็ดของสามีตนเองไปให้เหย่อเซ๊าโดยไม่รีรอ
และแล้วก็เรียเขาทั้งสองผู้นี้กลับมารับฟังคำตัดสิน เหย่อเซาพูดให้เขาทั้งสองว่า" กษัตริย์นี่แหละคือผู้ที่เหมาะสมที่สุดจะปกครองโลกนี้ เพราะเขารู้ถึงคุณค่าของการมีชีวิต"
ด้วยเหตุนี้เอง ไม่ว่าจะเป็นการปกครองในด้านใดก็ตาม ผู้ชายจึงได้ถูกยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีอำนาจมากกว่าผู้หญิง จึงถือเป็นหน้าที่หลักของผู้ชายที่จะต้องดูแลและปกครองโลกนี้มากว่าจะให้ผู้หญิงปกครอง
ข้าพเจ้าได้อ่านมาจากหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับม้ง ของ Particia V Symonds ผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับม้งในฟาวเวอร์ วิลเลจ ( Flower Village) ไม่ทราบว่าชื่อในภาษาม้งหรือไทย
เป็นชื่ออะไร ได้พยายามแปลให้ใกล้เคียงที่สุดแล้ว...หากใครยังไม่เข้าใจก็อย่าลืมให้คอมเมต์มา
อ่านดูแล้ว.....ท่านได้รับสิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับด้านล่านี้ไหม
๑.ผู้ชายมีการตัดสินใจที่ครอบคลุมและรอบครอบมากว่าผู้หญิง ฉะนั้นชายจึงมักจะเป็นผู้นำกัน (อาจมีหญิงบ้างแต่น้อยมากๆ)
๒.ผู้หญิงเป็นคนที่มุ่งมั่นมาก ทำตามทุกอย่างที่ได้รับการสั่งการมา นั่นคือธรรมชาติของผู้หญิง ...ได้รับสั่งให้ฆ่าสามีตนเอง ก็ฆ่าจริงๆด้วยเลย นั่นคือ เพราะผู้หญิงมีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนด้วย หากกษัตริย์องค์นี้ฆ่าภรรยาของตน ก็เท่ากับฆ่าลูกของตนเช่นกัน
ฉะนั้นในเรื่องนี้แม้จะเป็นเรื่องที่ชี้แจงเหตุผลที่ดูแล้วอาจจะเหมือนเป็นการชี้ข้อบกพร่องของผู้หญิง แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการเชิดชูในความสำคัญของผู้หญิงอีกด้วย ทั้งชายและหญิงขาดกันไม่ได้อยู่แล้ว
เรนไร ๒๔ พศจิกายน ๒๒๕๑
Sunday, November 23, 2008
พ่อแม่ชอบแย่งแคลเซียมลูก?
พ่อแม่ชอบแย่งแคลเซียมลูก (1 Sep.07)
วันนั้นเป็นวันแรกที่เราได้มีโอกาสไปแย่งกับข้าวจีนบ้านเพื่อนจีนครั้งหนึ่งชื่อ ลิลลี่ คุณพ่อลิลลี่เล่าเรื่องอาหารเรื่องหนึ่ง ที่ฉํนตอนแรกคิดว่า “อ้เราหิวก็หิว ยังจะม่เล่าเรื่องให้หิวกว่าน้ทำไม ขอแบบนั่งฟังแล้วเข้าปากแทนเข้าหูได้ไหม
สรุปคือแทนที่จะเข้าท้อง เราดันเอามันไปขยี้ตา จนเกิดอาการเศร้า น้ำตาคลอเคลี่ยขึ้นมาทันที หลังจากนั้นฉนพยายามจับมันทุกตัวใส่ตะกร้าแล้วยกเทลงในท่อนำส่งเข้สู่สมอง แล้วจากนั้นฉันก็ลงมาทางกลไกข้างล่าง แล้วก็มาจับหัวใจจนได้ใจความว่า แม่เลี้ยงลูกด้วยเนื้อปลาแต่แม่ลืมให้สารอาหารที่ดีที่สุด ให้ลูกแคลเซียมแม่ด้รับมากกว่าลูก จนลูกขาดสารอาหารหมู่หนึ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตไป
เราฟังไปด้วยหวนคิดถึงคุณพ่อคุณแม่เราด้วย เรื่องของเขามีตัวละครเพียงไม่กี่ตัว คือ แม่คนหนึ่งกับ,ลูกชายอีกสามคน ปลาตัวหนึ่ง แต่เรื่องของเรามีตัวละครหลายๆตัวเลย คือคุณพ่อ คุณแม่ พี่สาว น้องสาว น้องชาย น้องสาวตัวเล็ก ตัวเราเอง ปลาตัวหนึ่ง หางปลา และขี้ปลาด้วย
เรื่องของเรื่องที่เราได้ฟังมีอยู่ว่า มีครอบครัวคนจีนหนึ่งในสมัยที่ม้งไทยเรายังอยู่ที่ประเทศจียอยู่ พ่อของเพื่อนลากเสียงยาวมากกับคำว่านานมาก จนฉันสามารถคำนวณได้ราวๆประมาณนั้น ผู้คนสมัยนั้นเชื่อกันว่า การได้ปลาทานเป็นอาหารถือเป็นเรื่องที่สุดยอด เพราะสำหรับครอบครัวที่รวยแต่น้ำใจคงหาปลาทานไม่ได้บ่อยนัก ฉะนั้นเด็กๆของครอบครัวนี้ เมื่อมีปลาทานแล้ว ต่างดีใจ แต่น่าเศร้าใจเหลือเกินที่พ่อเพื่อนเล่าว่ามีปลาเล็กเพียงแค่ตัวเดียวให้กับทั้งครอบครัว
ฉันเคยถามแม่เหมือนกันว่า ทำไมแม่ชอบทานหัวปลา ปลายหางปลา และน้ำมันที่ทอดปลาทูหละ
คุณแม่ของฉันให้คำตอบที่เหมือนกับคุณแม่ของเด็กในเรื่อง และคุณแม่ของเธอเลย!
หากคุณเป็นคุณแม่คนหนึ่งของเด็กเหล่านั้น คุณจะตอบเขาอย่างไร ตอบได้เหมือนแม่ของฉันไหมว่า แม่ชอบทานหัวปลา หางปลา และชี้ปลา
พ่อแม่เรามีอะไรแอบแฝงหรือเปล่านะ ทำไมทานปลาแต่ละครั้งถึงถามหาแต่สิ่งที่เด็กอย่างเราไม่ชอบทานกัน
ฉันชักจะไม่แน่ใจเสียแล้วเกียวกับคุณแม่ฉัน หลังจากคุณพ่อของเพื่อนนำเรื่องครอบครัวนั้นมาสู่ตอนอวสาน
ว่าแต่ว่าคุณพ่อ และคุณแม่ของเธอหล่ะเป็นอย่างไรบ้าง เขาแย่งสารอาหารตัวหนึ่งที่เรียกว่าแคลเซียมในกระดูกปลาทานเป็นประจำไหม?
อย่าส่งคำตอบมาให้ฉันนะ จนกว่าคุณจะแบ่งเนื้อปลาให้พ่อแม่ของคุณได้ลองลิ้มรสชาติที่แท้จริงของเนื้อปลาก่อนนะ
Saturday, November 22, 2008
ความรู้อยู่ในตัวเรา แต่เราหาไม่เจอ
ลองคิดดูนะ ลูกแอ้ปเปิ้ลตกจกต้นไม้ หากไอสไตล์ไม่คิดอะไร ก็ไม่มีกฎของแรงโน้นถ่วงเกิดขึ้น
กระบวนการคิดเกิดขึ้นในตัวของผู้คิด และแล้วก็เลยนำมาเป็นความรู้ทอดที่๒ ที่เราไม่จำเป็นต้องไปคิดหาเหตุผลอีก แต่เพียงอาศัยความเข้าใจ
ฉะนั้นการศึกษาจริงๆคือ การขุดเจาะความรู้ที่ฝั่งอยู่ในตัวเองออกมาให้ได้ หากขุดมาไม่ได้ด้วยตัวเอง เราก็้องอาศัยเครื่องช่วย นั่นก็อาจหมายถึง คุณครู พ่อ แม่ หนังสือ บุคคลข้างกาย และสิ่งแวดล้อมรอบตัวมาช่วยกระตุ้น พ่อแม่เราแม้ไม่ได้เรียนสูงๆ แต่พวกเขาก็มีการศึกษาเช่นกัน
สังคมได้ต้องสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย และสถาบันต่างๆ
ขึ้นเพื่อให้กระบวนการกระตุ้นความรู้นี้มีระบบยิ่งขึ้นเท่านั้นเอง
นักพัฒนา
ในช่วงเวลาที่อยู่ที่นี่เมือ่ปีที่แล้ว การได้อ่านหนังสือไทยสักเล่มหนึ่งเป็นเรื่อง
ที่ยากมากพอควร แต่พอมารู้จักคุณอาท่านหนึ่งบ้านเกิดอยู่เชียงใหม่เช่นกันชื่อคุณอาสตาร์ จริงเข้าใจ
เราไดยืม้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งของอาเขาชื่อ" คนดี"
หลวงพ่อถามเด็กๆว่า " ใครอยากเป็นนักพัฒนาบ้าง?"
เด็กเกือบทั้งหมดยกมือขึ้นหมด ยกเว้ณเด็กสองคน
หลวงพ่อจึงถามว่า" ไม่อยากเป็นนักพัฒนาหรือ?"
เ็ด็้กน้อยสองคนนี้ตอบว่า"ขี้เกียจยก"
คุณคิดอย่างไรกับเด็กคนนี้ ....หลวงพ่อตอบเด้กน้อยสองคนนี้ว่า
" แตชค่ยกมือก็ขี้เกียจยกแล้ว นักพัฒนาคงไม่ต้องพูดถึงแล้ว"
คำกล่าวของท่านนี้ชวนให้ฉันคิดถึงคำพูดที่ว่า" ผู้นำต้องไม่สร้างผู้ตาม แต่ผู้นำ"
แต่น่าสงสารมากเลยนะคะ สังคมกำลังสร้างแต่ผู้ตาม
ชั่งของ ช่างใจ
ชั่งของ ชั่งใจ
เหตุหนึ่งในตลาดสดอินเดียแถวๆโกริยาฮัททำให้ฉันเห็นถึงประโยชน์
ของเครื่องชั่งน้ำหนักที่เรียกว่า กิโล
แม้อากาศจะร้อนแรงสักแค่ไหนในตลาดสด ไก่ถูกตัดคอสดๆโดดไปมา ผู้คนมากมายเคลื่อนไหวไปมาเหมือนมด เหมือนแมลงหนีภัย นักขับรถเล่นแตรเป็นดนตรีเตือนมด และแมลงเหล่านั้นให้หลีกทาง อย่าลืมพียงแค่สังเกตแค่นี่นะ มีให้เห็นชัดๆ ไม่ต้องสังเกตก็เห็น ถ้าคุณเถียงเป็นภาษาบ้านภาษาเมืองเขาหน่อย เธอจะได้ตามความพอใจของคุณ แต่หากคุณไม่มีอาวุธอะไร อย่างฉันเลยละก็ ฟังทางนี้ก่อนออกจ่ายตลาดในอินเดีย
เวลาที่คุณเดินจ่ายตลาดอย่าลืมที่จะตรวจตราหาตราชั่ง
ก่อนว่าเป็นแบบไหน พ่อค้าที่นี่มีเครื่องชั่งที่เป็นแบบสมัยก่อน เคยเห็นของคุณลุงเราอันหนึ่งที่ใช้ชั่งฝิ่นสมัยก่อนโน้น อย่าบอกใครนะว่า คุณลุงเรา....... เดี่ยวคุณลุงเราจะมาอธิบายการชั่งให้คุณนะ ถ้าคุณแจ้งตำรวจ น่าเสียดายที่เราไม่มีคุณลุงแล้ว
บ้านเราเลิกใช้ตราชั่งแบบนี้ แน่นอนว่าเป็นเพราะความไม่สะดวก แต่สำหรับที่นี่ ยังไม่เลิกใช้ เพราะกลัวความยุติธรรมหรือเปล่า ถึงใช้ได้ ใช้ดีจนถึงทุกวันนี้
ตามตลาดพ่อค้าโดยส่วนใหญ่ของตลาดทั่วไปใช้ตราชั่งในการชั่งของ ฉะนั้น หลายครั้ง หลายหนเหลือเกินที่ฉันไม่ได้น้ำหนักตามที่ควรจะได้รับ ตราชั่งยังไม่ทันนิ่ง พี่แกก็เลิกชั่ง ครั้งแรกเราไม่พอใจ แต่ก็เอามาเป็นเจ้าของจนได้ แต่ครั้งต่อมาหละซิ เราเถียงอังกฤษ เขาใส่เบงกอลี ใช้ฮินดี้ช่วย แต่เราก็มีไทยเป็นตัวช่วยอยู่ จึงรอดไป
“ไม่ซื้อหรอกค้ะคุณลุงขี้โกง"ฝรั่งลูกใหญ่ประมาณต้นที่ลุงเราปลูก เนื้อข้างในสีแดงเหมือนกัน พันธุ์เดียวกันกับของลุงเรา จึงทำให้ฉันอยากกินมาก แต่คิดดูแล้วได้กินครั้งก่อนก็โอเคแล้ว ครั้งนี้ขออดละกัน เพราะกิโลหนึ่งตั้ง ๗o รูปี จะเอาได้ไง ของนิดเดียว ราคามหาศาล อร่อย และกินลงอยู่แล้ว แต่กินเสร็จคงคิดแน่ๆเลยว่าเราเอาเปรียบครอบครัวมากเกินไป
การใช้ตราชั่งนอกจากจะให้กำไรดีกับพ่อค้าแล้ว ยังมีข้อดีสำหรับฉันอย่างน้อยหนึ่งข้อด้วยนะ คือ ฉันได้เรียนรู้ว่าของจะได้ตรงตามน้ำหนักจริงหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับใจของผู้ขาย
เพราะฉะนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ซื้อของแล้วไม่ได้ดั่งใจ คืนก็ไม่ได้ ฉันมียารักษาโรคขี้โมโห โดยมีสรรพคุณที่จะเอามาปลอบใจตัวคุณได้คือ อย่างน้อย เราก็ได้ชั่งใจของคนคนหนึ่งด้วยการใช้ตราชั่งชั่ง ในขณะที่เราไม่สามารถที่จะนำมาชั่งได้กับคนทั่วไป จึงได้แต่คอยเดาใจเธออะไรกันนะกันหนา เพราะคนเรามังแต่กลัวเดียวเธอจะไม่รักกัน
ยากเหลือเกินนะ คนคนนั้นไม่ใช่คนขายของที่อินเดีย แล้วฉันจะเอาอะไรไปชั่งใจเขาได้บ้างล่ะ
คำถามด้วยคุณเอกรัตน์"คริสต์" เปลี่ยนวัฒนธรรมมม้งไปยังไงบ้าง
ตอบคำถามด้วยคุณเอกรัตน์"คริสต์" เปลี่ยนวัฒนธรรมมม้งไปยังไงบ้าง
"ในช่วงหลังมีม้งหลายคนที่ได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ บางคนก็ไม่ให้ความสำคัญกับสือเน้ง บางคนก็ไม่สืบต่อธรรมเนียมปฎิบัติแบบเก่าก่อน แต่บางคนถึงแม้ว่าจะถือคริสต์แต่ก็ยังคง ปฏิบัติตามธรรมเนียมของคนม้ง ทั้งการแต่งงาน ฯลฯ...อยากรู้ว่าการถือคริสต์ได้เปลี่ยนวัฒนธรรมม้งไปยังไงบ้างในความคิดของท่าน"
เราในฐานะผู้ตอบที่ต้องคิดหนักหน่อยเลย...เพราะชื่อติดในกระทู้คุณเอกรัตน์แล้วรู้สึกเป็นงาน
ที่ไม่ตอบไม่ได้แล้วเลยขอตอบตามความคิดเห็นดังนี้นะ
ศาสนาคืออะไร....???
วัฒนธรรมคืออะไร...???
ธรรมเนียมที่คุณเอกรัตน์เอ่ยถึงคืออะไร??
วัฒนธรรม และประเพณีมีส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของศาสนาและความเชื่อ และอีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการ
ยอมรับของผู้คนกันเองนั่นเรียกว่าธรรมเนียม.....เราน่าจะแยกประเพณีและวัฒนธรรม และธรรมเนียมออกจากันนะ... ประเพณีอยู่ของประเพณี วัฒนธรรมอยู่ของวัฒนธรรม และธรรมเนียมก็แยกด้วย ...เราเอามาใส่เป็นรวมมิตรถ้วยเดียวกันไม่ได้...เพราะจะเข้าใจยาก ธรรมเนียมคล้ายๆกับว่าเป็นกฎระเบียบที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามนะ....ใครไม่ปฎิบัติตามสังคมก็จะว่าให้....
ไม่ใช่ว่าใครไม่ปฎิบัติตามแล้วพระเจ้าจะว่าให้...ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาเลยนะ เช่น....ค่าสินสอดทองหมั้นพันดอลล่า หากคุณไม่ให้ตามนั้น...ใครจะว่าให้คุณ....พระเจ้าเหรอ? หรือคนอื่นที่รู้ว่าคุณให้ไม่ครบวัฒนธรรมโดยที่เข้าใจกันแล้ว คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองโดยไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา แต่ขึ้นอยู่กับกิริยาที่มีต่อตัวบุคคล...การพูด การกินและการแต่งกาย พูดง่ายๆเลยก็คืออะไรก็ทำตามที่เราทำเป็นกิริยาท่า
ทางปกติที่เราทำเป็นประจำทุกวัน ไม่ได้มีเวลามากำหนดว่า..ถึงแล้ว เราต้องแสดงวัฒนธรรมออกมา .....หมดวันแล้ว...เราต้องพับเก็บไว้ก่อน....รอวันวัฒนธรรมแล้วค่อยแสดงออกมาอีก...อย่างนั้นไม่ใช่ฉะนั้นวัฒนธรรมเป็น
อะไรที่เรามองเห็นได้ในชีวิตประจำวันเราอยู่แล้ว ที่มองเห็นเพราะวัฒนธรรมควบคุมพฤติกรรมของเราจากที่กล่าวมาด้านบน...
ลองสังเกตดูนะว่าม้งที่นับถือศาสนาคริตส์มีการแต่งกาย การพูด หรือกิริยามารยาทอื่นๆที่ต่างจากจากม้งที่นับถือ"ศาสนาม้ง" ไหม???(ดิฉันขอเรียกว่า ศานาม้งนะ เพราะเป็นของดั้งเดิมของม้ง)หากต่างกัน แสดงว่า วัฒนธรรมนั้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง....แต่ความเป็นจริงแล้วไม่นิ ม้งที่นับถือศาสนาคริสต์ก็ยังเหมือนเดิม ยังแต่งกายด้วยชุดสวยๆเวลามีงานสำคัญต่างๆนิ ยังพูดภาษาม้ง ยังคงกินกับข้าวม้ง ยังคงเคารพผู้เฒ่าผู้แก่อยู่เหมือนเคย และหญิงสาวยังคงไม่ลืมความอ่อนน้อมถ่อมตัวนิ ฉะนั้นศาสนาไม่ทำใหวัฒนธรรมม้งเปลี่ยนหรือเสื่อมหรอกนะ เพราะที่ต่างกันนั้นเป็นเพียงคุณค่าทางจิตใจของแต่ละคน...ที่วางใจ พอใจ และอยากให้สิ่งนั้นมาเป็นแรงบันดาลใจ...เรื่องของศาสนาคริสต์เป็นเหมือนเป็น
ตัวผู้ช่วยหนึ่งที่ถูกม้งเรากลุ่มหนึ่งเลือก จึงที่ทำให้จิตใจของเราม้งบางส่วนนี้เปลี่ยนไป ...แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ศาสนาม้งไม่ดี ถึงเปลี่ยนศาสนา....หากเป็นอย่างนี้ก็คงสอบตกวิชาม้งแล้วนะส่วนศาสนาคริตส์นั้นต้องมีอะไร
ที่ต้องคิดหาเกี่ยวข้องโดยตรงต่อประเพณีม้ง ประเพณี....เป็นเรื่องราวที่ต้องคิดกับอะไรๆที่เราไม่ค่อยเห็นบ่อยๆในแต่ละวัน จะเห็นได้ก็แค่ตอนที่ถึงฤดูกาลของมัน หรือถึงเวลาอันเป็นมงคลที่ได้กำหนดไว้....ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ปีใหม่ กินข้าวใหม่ พิธีการแต่งงาน อันนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนาของม้ง ม้งที่ถือคริสต์ก็คงจะหลีกเลี่ยงที่จะเรียกบรรพบุรุษของตนมาทานข้าวใหม่ แต่ก็ยังมีการกินข้าวใหม่กัน เวลาเรียกขวัญก็คงมีไม่ปฎิบัติการ แต่ก็ยังมีการไปโบสถ์ไปรับพรจากพระเจ้าในวันนั้น (เห็นที่บ้านเค้าทำกันนะ )ปีใหม่ก็ยังร่วมเล่นกันในกลุ่มม้งที่เชื่อตามความเชื่อของม้ง โดยไม่ได้คิดว่าเป็นการรับพรจากบรรพบุรุษ และผู้อยู่เบื่องบนหรือเป็นการมปีติยินดีกับพิธีหนึ่งที่ต้อนรับผู้อยู่เบื้องบนมาเล่นสนุกสนานกับเรา....
ทุกคนต่างเพียงคิดว่าเป็นไปเพื่อการพบปะ และสันสรรค์กันไปเพื่อความบันเทิงเท่านั้น ทั้งนี้ดิฉันเห็นว่า ประเพณีของม้งอยู่บนพื้นฐานทั้งของสองสิ่งคือ
๑.ความเชื่อม้ง
๒.และธรรมเนียมม้ง
ม้งที่เป็นคริสต์จึงยังก็ยังถือปฏิบัติการให้เห็นกันบ้างตามความชอบในส่วนที่เป็นธรรมเนียม และวัฒนธรรม แล้วขณะเดียวกันหลีกเลี่ยงการประกอบพิธีหรือความเชื่อของม้ง
*ประเพณีของม้ยู่บนพื้นฐานของความเชื่อของม้งอย่างไรหล่ะ?
ลองสังเกตไหมว่า....ทำไมฝ่ายชายเวลายกขบวนมาสู่ขอฝ่ายหญิงต้องหยุดกลางทางแล้วทานข้าว....ขากลับเช่นกัน ทำไมต้องห่อข้าวให้ทานกลางทานอีกด้วย....ม้งที่เป็นเม่งก้งทำไมต้องถือร่ม? หากม้งที่นับถือคริสต์อย่างเต็มตัวก็คงจะหลีกเลี่ยงการปฏิบัตินี้ เพราะการทำอย่างนี้เพราะมีความเชื่อของม้งเรื่องนี้อยู่....แต่ทุกวันนี้สงสัยม้งไม่รู้จักตัวเอง
พอจึงถือปฏิบัติด้วย แบบครึ่งๆกลางๆ ขั้นตอนที่รู้ก็หลีกเลี่ยงไป ที่ไม่รู้ก็ทำไปโดยไม่รู้ตัว
** ประเพณีของม้งอยู่บนพื้นฐานของธรรมเนียมยังไงหล่ะ
การสู่ขออย่างถุกต้องตามประเพณี นอกจากจากเป็นการให้ความเคารพผู้ให้กำเนิดแล้วแถมยังเป็นที่ยอมรับของสังคม และอีกทั้งยังคงจะเป็นเกียรติอย่างยิ่งต่อทั้งชายและหญิง ธรรมเนียมนี้จึงยอมรับโดยคนม้งๆที่อยากเริ่มต้นชีวิตคู่ดีไงกันหล่ะ เหตุนี้การแต่งงานของม้งๆเราทั้งคริสต์และม้งศาสนาม้งจึงมีให้เห็นกันไงหล่ะจึงคิดว่า...
ศาสนาตริสต์ไม่ได้มีผลอะไรต่อการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม ธรรมเนียม และศาสนาม้งให้เสื่อมเสียหรือเปลี่ยนแปลงเลย แต่จะส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงของประเพณีของม้งบางอย่าง....
ซึ่งประเพณีบางอย่างอาจถูกรวบรัดให้สั้นลงเพราะจะมี
ีการตัดส่วนที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมหรือความเชื่อออก แล้วถือเอาเฉพาะที่เป็นๆและเห็นๆกันอยู่จริงๆเท่านั้น ทำไมถึงคิดว่าไม่มีผลกระทบอะไรต่อวัฒนธรรมธรรมเนียม และศาสนา?พวกเค้าไม่ได้นำวัฒนธรรมอะไรมาใส่กับวัฒนธรรมม้งนิ เพราะวัฒนธรรม ธรรมเนียมไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาของม้ง แต่ประเพณีต่างหากที่เกี่ยวศาสนา...เค้านับถือตริสต์ก็ไม่ได้มาทำลายความเชื่อของม้งนิ...
เพียงเขาไม่เชื่อแค่นั้นแล้วหาที่พึ่งพาทางใจใหม่ แค่นั้นเอง....และหากคนไม่เชื่อเยอะๆแน่นอนว่าศาสนาม้งคงหายไปแน่ แต่แน่นอนว่าความเชื่อของม้งยังคงให้อะไรดีๆกับกลุ่มม้งกลุ่มหนึ่งที่ได้รับประโยชน์อยู่ และยังมองว่าเป็นที่พึ่งพาได้อยู่ จึงไม่มีวันหายเช่นกันมีแต่ประเพณีที่เกี่ยวข้อง ประเพณีที่มีในส่วนของพิธีกรรมต่างๆของความเชื่อม้งเขาก็เพียงแค่หลีกเลี่ยงถ้าพวกเค้ารู้ว่าเกี่ยว ส่วนในส่วนที่พวกเขายังไม่รู้ว่าโยงใยกับศาสนาม้ง พวกเขาก็ยังคงปฏิบัติกันอยู่โดยไม่รู้ตัว .....หากไม่ใช่อย่างนี้แล้ว ม้งที่นับถือศาสนาคริสต์คงไม่มีการไปเล่นปีใหม่ที่พร้อมๆกับปีใหม่ของม้งที่นับถือศาสนาของม้งตามที่ดิฉันเรียกแล้ว
(เหตุผลอธิบายไปแล้วข้างตน)พวกเขาคงหันไปเล่นปีใหม่ม้งในช่วงปีใหม่สากลไปเสียแล้ว และอีกอย่างพวกเค้าคงไม่รับการแนะนำและช่วยเหลือจากพ่อม้งแม่ม้งยาสมุนไพรในสมุนไพรบางอย่าง อย่างไรก็ตามม้งที่นับถือศาสนาคริสต์ก็ยังคงรักวัฒนธรรม ประเพณี และธรรมเนียมของม้งอยู่ แต่ตัดความคิด ความเชื่อ และพิธีกรรมบางอย่างออกในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาสนาม้งเท่านั้น เช่น การจ๊าย(ไม่รู้จะเขียนเป็นภาษาไทยอย่างไร ถึงจะเข้าใจ เขียนม้งไม่เป็น) การเส่นไว้บรรพบุรุษ การบ่นเจ้าที่เจ้าทาง อัวเน้ง และการดูจากหมอดู อันประเพณีนี้คนที่นับถือคริสต์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากเป็นทั้งที่เกิดมาจากความจริงที่เห็นๆ และความเชื่อๆของม้ง....พวกเขาจึงพยายามหลีกเลี่ยงเท่าที่จะเป็นไปได้ให้มากที่สุดเท่านั้นความต่างของม้งคริสต์และม้งศาสนา
ม้งจึงต่างกันเพียงแค่ในเรื่องของคุณค่าทางจิตใจเท่านั้น คงที่วางใจในพระคริสต์ก็คงต้องหาพระองค์เป็นที่พึ่ง สำหรับม้งที่ยังคงนับถือของม้ง ก็ยังคงปฏิบัติกันต่อไป เพราะได้รับประโยชน์จาการนับถือ และแน่นอนว่าความเชื่อนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลงตราบใดที่ยังคงสามารถช่วยเป็นยาเยี่ยวใจให้คนม้งเราอยู่ ฉะนั้นจึงแน่นอนว่าศาสนาคริสต์ไม่ได้เข้ามามีส่วนที่ทำให้วัฒนธรรมม้งธรรมเนียมม้ง และศาสนาของม้งเสื่อมเสียอะไรหรือเปลี่ยนไปแต่ประเพณีบางอย่างจะถูกหลีกเลี่ยง หรือรวบรัดไป อันนี้อาจนำมาซึงการมีอีกรูปแบบหนึ่งของประเพณีประเพณีหนึ่งของม้งคริสต์ได้ แต่จะไม่ส่งผลต่อประเพณีดั้งเดิมของม้งม้งอย่างแน่นอน....ฉันคิดว่า...ม้งที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์หรือศาสนาอื่นๆที่เปลี่ยนไปเพราะ
๑.ม้งไม่ศึกษาเรื่องของศาสนาม้ง เลยมองไม่เห็น
จุดแท้จริงของการเชื่อสิ่งเหล่านั้น
๒.ผลจากข้อหนึ่งข้างบนนำเรามาอย่างง่ายสู่ข้อนี้ คือการเปลี่ยนศาสนาโดยได้รับอิทธิผล ม้งกลุ่มนี้จึงอาจมีการประกอบพิธีดั้งเดิมของม้งบ้างตามที่ชอบ
๓.คนที่มีใจรักอยากเปลี่ยนจริงๆ
๔.ตามความนิยม....คนส่วนใหญ่รุ่นใหม่ขอนับถือศาสาคริตส์เพราะเท่ห์ดีก็มีทมไป ส่วนม้งนี้ไม่ต้องคิดมาก ไปทิศทางไหนก็ได้หมด ตามยุคสมัย
แต่ปัจจัยเหล่านี้ไม่ทำให้วัฒนธรรม ธรรมเนียม และศาสนาเราเปลี่ยนหรอกนะ(ยกเว้ณประเพณีบางอย่างบางขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อม้ง)..... แม้ศาสนาม้งจะไม่ได้รับผลเสียอะไรจากศาสนาคริตส์ แต่แนานอนว่าหากเรายังไม่รู้ถึงคุณค่าของกระบวนการคิดตามความเชื่อของม้ง....รับรองว่าไม่ใช่แค่ศาสนาคริสต์ที่คนม้งจะไปนับถือ แต่ศาสนาอื่นๆด้วย....คนนับถือของม้งเราก็จะน้อยลงแน่ๆในอนาคตตามที่เห็นเท่าที่เห็นๆกันอยู่ทุกวันนี้.....
หากคุณตัดสินใจหนีไปนับถือศาสนาอื่นเพราะคุณไม่ชอบอะไรของความเชื่อม้งที่คิดว่าอยู่ในโลกความงมงาย นั่นคุณก็คิดผิดเสียแล้วคุณจะคิดถูกก็ต่อเมื่อ คุณรู้สึกว่าพระเยซู พระพุทธเจ้า หรือพระอัลเลาะสามารถเป็นที่พึงของคุณได้ แล้วคุณจึงหันไปนับถือ นั่นถือว่าคุณได้ตัดสินใจถูก โดยไม่รังเกียจ หรือวัดค่าของอีกศาสนาหนึ่งน้อยลงไป ฉะนั้นจึงขออยากให้พี่น้องม้งเรา อย่าไปนับถือศาสนาอื่นเพราะคิดว่าศานาม้งไม่ดี งมงายจึงหนีหันไปนับถืบศาสาอื่นแทน ขอให้เราศึกษาศาสนาเราก่อน เรายังไม่ทันศึกษาศาสนาเราเลย เราก็ไปศึกษาของคนอื่นแล้ว....ศาสนาม้งจึงอาจกำลังค่อยๆๆๆๆๆหายไปในพริบตาจนลิบหรี่มากแล้วตอนนี้หากไม่มีการศึกษา
ให้รู้แก่นที่แท้จริง ทุกอย่างจะถูกดูงมงาย จนสุดท้ายคุณคงพลาดที่จะมองเรียนรู้จากสิ่งเหล่านี้ในความเชื่อของม้งได้....จริงๆๆแล้ว...ทุกความเชื่อที่ม้งเชื่อ มีกระบวนการคิดในเชิงปรัชญา หรือในเชิงแห่งความจริง....ที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นคำสอนของเรา ซึ่งเหมือนศาสนาอื่นๆที่มีคำสอน แต่น่าเสียใดม้งเราไม่มีโอกาสในการศึกษาตรงนี้ และไม่ได้สนใจที่จะพยายามเรียนรู้คำสอนที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความเชื่อของม้งเหล่านี้ เราส่วนใหญ่สนใจแต่การจะทำอย่างไรให้ทันใจ ทันทีให้ชีวิตดูดีขึ้น โดยลืมถึงคามสำคัญ เนื้อหาของคำสอนที่ถูกซ่อนอยู่ในพิธีกรรมไป จึงทำให้เราพอไม่สบายบ้าบก็ต้องยาทันใจ ต้องอัวเน้ง ฮู่พลี ฯลฯ เยี่ยวยารักษาชีวิตเพียงค่ำขึ้น แล้วลืมที่จะมองเอาหาคำสอนเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เราได้แต่หวังผลอย่างทันใจ สนใจเพียงแค่วิธีการปฏิบัติ หมออัวเน้งทุกวันนี้ล้วนรู้จักการประกอบพิธีกรรมต่างๆ แต่สักกี่คนเล่าจะรู้คำสอนที่ซ่อนอยู่ไม่.....เราในฐานะคนดู ไม่ได้มีความรู้อะไรเลยจึงมองความเชื่อเหล่านั้นเป็นสิ่งงมงายไป....ลองคิด วิเคราะห์ดูดีๆนะ....แล้วคุณจะพบระบบกระบวนการคิดที่น่าคิดมากเลย...จนคุณแอบชื่นชมคนม้งแต่ก่อนว่าคิดได้อย่างไรมีด้วยหรือ แบบว่า It’s amazing!
ดิฉันว่าคงต้องมีอะไรซ่อนอยู่ในการปะกอบพิธีแต่ละพิธี และความเชือในแต่ละความเชื่อ....อย่าเชื่อถ้าคุณเชื่อแล้วไม่ได้รับอะไรแต่จงเชื่อถ้าคุณได้รับอะไรจาการเชื่อดิฉันมีบัตรประจำตัว-
ประชาชนนะที่เขียนว่าเป็นพุทธแต่จริงแล้วไม่ใช่พุทธ จะว่าไปคือไม่มีศาสนาอะไรที่ติดอยู่ในใจนะบัตรที่ได้เกิดจาการได้มาจากการบอกของพ่อแม่ตอนเกิดอยู่บ้านพ่อแม่ทำพิธีกรรมอะไรก็ยินดีรับ ยินดีช่วย และพร้อมศึกษา สิบสองปีเคยเรียนโรงเรียนพุทธก็เข้าวัดเข้าวา ตอนนี้เรียนอยู่วิทยาลัยของมิสชั่นนารี ก็เข้าโบสถ์ เชื่อ และรับรู้ถึงพระองค์ แม้เดินผ่านวัดฮินดู ก็ยังต้องก้มหัวลงนิดหนึ่งแล้วขอพรจากท่านสำหรับวันนี้.....การกระทำอย่างนี้ของดิฉันไม่ได้มีผลกระทบอะไร
ต่อศาสนาทั้งหมดที่กล่าวมานี้....เรานับถือโน้น นับถือนี่แล้วทำให้ศาสนาเขาเสื่อมเหรอ? ไม่ใช่.........ทั้งหมดคือขึ้นอยู่กับความสบายใจของดิฉันเอง...ม้งที่นับถือศาสนาคริสต์ก็คงเช่นกัน เขานับถือ แต่เขาก็ไม่ได้ทำอะไรเสียหายให้กับศาสนาม้ง วัฒนธรรมม้ง ประเพณีม้ง และธรรมเนียม หรือแม้กระทั่งศาสนาคริสต์ที่เขานับถืออยู่ อืมมาไกลและมาเยอะมาก....จนไม่รู้ว่าได้ตอบคำถามของคุณเอกรัตน์หรือยัง
หากใครไม่เห็นด้วย หรือมีความคิดเห็นอะไรเพิ่มเติม
ก็อย่าลืมทิ้งความคิดไว้ให้ดิฉันด้วย ทำตัวเองให้อยู่ในกระทู้นี้เหมือนคุณอยู่บ้านของคุณนะ แล้วเรามาพูดกันนะ
ขอบคุณมากนะ
ปล. ภาษาม้งเขียนไม่เป็นนะ
แนะนำม้งและปเกอญอ
Introduction to The Hmong and The Karen
All the information that I have given here is collected from various resources mostly from the internet, and even from my own experience, my family and friends as well. I have tried hard to work on this interesting topic with the purpose of bringing the awareness about the two ethics to us. I hope this information could bring to my readers a better understanding of the Hmong and the Karen.
Firstly, I would like to give a brief background on the two ethics’ history. In order to understand them better, we should take a look at the brief history of each of the following.
It should be stated here that the Hmong and Karen do not share the same history. I would prefer to say that The Hmong history has something to do with
Let’s look at the brief history of the Hmong and the Karen simultaneously.
The Hmong are still unclear of their past and lack informational links to find their history, most of our history were a part of other history i.e. Chinese,
Many scholars have suggested about the Hmong history in many ways such as;
A)The Hmong was first in
B) The Hmong is one of the Lost Tribes of the Hebrew.
C) Mongolia was the place from where Hmongs came from.
All these theories are not fully accepted, they are just the possible suggestions of the history suggested by the Hmong scholars and other European linguists. Whether it is true or not, that is the mystery of the Hmong history.
The Hmong people are to be found today in the mountains of
The Karen, who call themselves as “Pwakin-nyaw “ and who are known as Kariang in
The Karen of Burma believes to have begun their first migration into
The Karen people gained their independence from
A war broke out a year later that resulted in ongoing fighting until today where the
Due to many political problems in
Just like the Hmong people that not only can be found in
Now we shall come to the first conclusion on the similarity between the Hmong and the Karen that they also live all over the world as other ethics.
ความคล้าคลึงของม้งและปเกอญอ
The Similarities Between
The Hmong and The Karen
As we have already had an idea the two ethics in their past, I now shall lead you and point out side by side the similarities between the two ethics in different areas as follow;
Population
The Hmong population is larger than the Karen population. The figure is shown that today there are at least 12 million Hmong people all over the world.
This is about 5 million Hmong living in Southern China , about 90,000 in Thailand, 200,000 in Vietnam, and a similar number in Laos , approximately 270,000 Hmong people reside in the United States American, 600 in Canada and Argentina, 15,000 in France, 2,000 in Australia, and 1,500 in French Guiana.
The total population of the Karen is about 3 million, spread throughout
It is common now that we can find both the ethics live both in the mountains and on the plains.
Occupation
Most of the Hmong and the Karen people are framers; they always grow rice, corn and wheat every year for themselves as well as for sale in the market.
Apart from this, they also plant vegetable and fruits for sale as well. Cabbage, carrot, cauliflower, bit root are some examples of the principal crops that they plant.. They grow fruits like strawberry, pear, peach, and litchi.
But since the education is provided for them, the two also have an opportunity to study and take various parts in the society such as politician, teacher, doctors, nurse, police, soldier, independent businessman and so on.
Religion
The Hmong now still believes in the spirit of nature, their ancestors, and everything that may have effect their lives. The Hmong has a number of practices related to nature and their Graet ancestors. They sacrifice animals to worship their Great ancestors and the sprit.
Later on , since the missionary had come to spread Christianity , there are a lot of Hmong people become Christians, and also many Hmong people in
The Karen also worship every living thing contained a spirit (K’la) which present every place, river mountain or forest had its own Lord . This is a kind of “Animism” and have some ceremonies to do with the surrounding which they thing that may effect life. This practice not only exist in Karen belief , but also exists in Hmong belief too.
Moreover both of the ethics also practice “Shamanism “ which refers to a range of traditional beliefs and practices concerned with communication with the spirit world. This concerns with illness. Apart from this, there are also ceremonies for birth, marriage and death too.
According to the figure of the Karen website in the internet, there are also about 80% of Karen are Buddhists. Others converted to Christianity and some still keep on the belief of the Animism.
Now a days we can see that although some of the Hmong and most of the Karen now become Buddhist and Christian, they still practice some traditional beliefs mixing up with Christianity and Buddhism.
Language
The Hmong language are complex and tonal. The Hmong and the Karen did not have a written language. The Hmong had been introduced to the Romanized Popular Alphabet(RPA) in
The Romanized Popular Alphabet (RPA) had been introduced in 1953 by the three men - Dr. Linwood Barney, Father Yves Bertrais and Dr. William Smalley.
The Hmong RPA is now officially taught at the Central Institute of the Chinese Nationalities in
The Pahawh Hmong alphabet was invented in 1959 by Shong Lue Yang (), an illiterate Hmong farmer living in northern
There are two dialects green and white dialects. These two dialects are not so different that two people come from a different region cannot understand each other, so I would say that it is just like the British English and the American English only.
Here are some samples of Hmong written language take from a Hmong website
Sample text in the Pahawh Hmong alphabet
Sample text in Hmong (Miao) of northeastern
Laix laix diangl dangt lol sob dab yangx ghax maix zit yef, niangb diot gid zenb nieef haib gid quaif lit gid nongd jus diel pinf denx. Nenx dol maix laib lix xent haib jox hvib vut, nenx dol nongt liek bed ut id xit deit dait.
Sample text in Hmong (Miao) of southeastern
Leb leb
Sample text in Hmong (Miao) of Sichuan/Guizhou/Yunnan
Cuat lenx cuat dol bongb deul ndax dex douf muax zif youx, nyaob shout zunb yinx tab ndas dos id, dax zis ib suk. Nil buab daf lol jaox muax lid xinf hlub hout tab liangx xinb shab nzhuk, yinf gaib keuk suk gud dix mol lol nit jinb shenx lol shib daf shib hlad.
The translation of the above text
All human beings are born free and equal in dignity and rights. They are endowed with reason and conscience and should act towards one another in a spirit of brotherhood.
(Article 1 of the Universal Declaration of Human Rights)
Now let’s move on to Karen language. There are three main branches of the language which are Sgaw, Pwo, and Pa'o. The Karen languages are commonly divided into three groups corresponding to the region of
Earlier, the Karen have no written language, but later on, the Karen Pwo and Sgaw have formed the written language. They are only two Karen languages that possess written forms.
So the Karen people have carried their rich literature from generation to generation through their traditional practices, legends, songs and folks. Just like the Hmong that preserve their history and literature orally from generation to generation through songs, folks, and their cultural and religious activities.
According to the Karen inter website (http://www.geocities.com). An ancient written Karen language form has been found recently. They found that the ancient Karen language form of writing is similar to Chinese ideograms, so the language is related to Chinese.
I would like now to give some examples of Karen written languages from the Karen website (http://www.geocities.com)given by the Loyal Karen of Burma.
The Karen Standard Condensed
The Karen Standard Expanded
Karen Win Han
Karen Freehand
Karen Kee Lah
It should be noted here that Hmong language and Karen languages are written and spoken differently, but both are in the same language family of the world, that is Tibeto - Chinese family language.
In more specific detail, Karen languages are considered part of the Tibeto –Burman family of languages and Hmong language belongs to the Sino-Tibetan linguistic family, along with Chinese (according to many Chinese and Hmong scholars)
Yet, I shall give here few words that I found them related to Chinese language, words like “Vang” means “king or emperor” and “Mua-kua” means “papaya”.
Let’s now sum up the similarities of linguistic features between the two languages.
A) According to the information given by many linguistic scholars both languages are related to Chinese.
B) The languages are monosyllabic and tonal.
C) There are no final consonants
D) Some dialects do have a nasal syllable ending in some words
E) Compound words are formed by agglutination (adding two words together to form another new word)
F) The structure of sentence is Subject + verb + object + adverb
Or
Subject + Adjective
Food
The original Hmong food is quite plain. They do not use many items to prepare one menu. They always cook each item separately. Hmong meals usually include many fresh vegetables, mostly prepared by steaming or boiling.
Of cause, it can be spicy as well, but chili should be prepared separately from the main menu, so that the youngsters in the family can have together.
Unlike the Karen cuisines which are particularly spicy and many items such as peanut pickle ( “tua-nua” called in Thai language),chili, onion and garlic are put up together to prepare only one menu. This makes their food is quite unique from other Asian food.
But now we can find that not only the Karen that use different items to prepare a menu of food, but also the Hmong and other ethics do that too. This is just because they live in the same society and they have shared cultural heritage together.
Education
Both girls/women and boys/men of the two ethics now have the right to study, but still most of the children do not get the opportunity to afford for higher education. There are still a lot of children that do not have an opportunity for education.
Yet, there are many literates of the two are active and concern about their own people condition, so after finishing their higher studies and do come back to guide and support their villages and encourage their people for education. So it is education that changes their lives and brings progress to them to live with other communities in peace.
Family name
Actually, both of the Hmong and the Karen have their own language family names. The Hmong family names are Vang, Thao, Lee, Her, Xiong, Yang, Moua, Hang, Lo, and Lor, etc. But later these all names have been changed according to the wish of the each family.
Regarding to this, the Karen too that has changed their surname into other language. It should be stated here that due to the kindness of a Royal Thai King that had named many family names to both the Hmong and the Karen. These family names were given when the Thai King went to meet His people in the Northern part of Thailand, such as Pitakkirikeat, Panakirirath in a Karen family name, and Pitakkeat in a Hmong family name.( I am not sure which Thai king, but I know this because my relatives and my friends who have such surnames told me about this.)
Although their surnames have been changed into other languages, they still keep the original family names in their mind. So now we hardly to make out which family does he/she belongs too, or she is Hmong/ Karen or not
Tradition
Tradition is the main part of the two ethics life. They still keep practice on protecting their tradition very strongly as we can see many activities taken place even today. The main tradition that I would like to mention here is the New year of theirs.
The Hmong new year is always held on in November to January regarding to the moon. New Year is a great time for each other to meet and to visit their dear relatives.
On the new year day, each household sacrifices domestic animals and holds feasts. They offer pigs and chickens to their ancestors and the spirit controllers of the house as well as the village. Particular rituals must be performed by him in honor of these spirits, most during the New Year celebrations. The young people also have a important function of paying respect to the elders. Moreover it is a time for enjoying, so they dress new cloths and play various interesting activities such as dancing, singing and throwing ball , all these can be found on the New year days.
The Karen Lular New Year is traditionally held on the first day of the month of Thalay (Pyatho) or the fourth month of the thirteen-month
Dress
Both the Hmong dress and the Karen dress are colorful and beautiful. These customs are not only fashionable but also meaningful too.
Let’s turn to the Hmong dress and respectively.
It is said by many Hmong scholars that the embroidery in Hmong dress is Hmong way of writing in the ancient time. At that time, hmong had lost the war, their scripts and books were burn, so our Hmong ancestors used the method of embroidery to record event and information such as the lines in the Hong girl skirt indicate the Yellow River in China when Hmong had a war with the Hun Xia Dynasty fighting for the plain of the Yellow river.
There are a lot of designs are left not been understood by us because those who know how to read had passed away, but still some of the original embroidery designs still have their names for themselves, but these names do not give us any meaning which related to our own past.
So there is only the colors of the dress that give the idea of which group of Hmong to us i.e. the White Hmong or the Green Hmong. If we a girl wears a white skirt, then obviously that she belongs to the White Hmong group. Or on another hand, if a girl wears a blue skirt ,then she is a Blue or green Hmong .
The Karen that have different costumes. All these costumes have different meanings in term of group like the Hmong too , but the Karen dress has different meanings for the status of the dresser, for example;
A) White dress (Say Moe Wah) is usually wore by women who live in eastern mountain Karen. This also indicates that she is single or unmarried, If people get married they do not wear it anymore.
B) If people wear flowers Sewn dress (Say Sa Paw) dress indicates that they live in plains areas and believe in animist traditions.
C) If we see people were Black dress (Say Moe Thu) which mean that there is a wedding ceremony, and Karen New Year going on. Some people just were it to recall spirit.
D) Green dress (Say La) dress is mostly worn in
E) Say P'lo dress is wore mostly by Eastern mountain Karen men found in the Delta and the plains .
We now shall come to the conclusion that the colors of the dresses of the two have different meanings. The Hmong dresses tell us which group he/she belongs to (white or green group), whereas the Karen dress tell us the status of the dresser and the region where the dresser comes from.
This is the last part of my presentation on this topic, I would like to conclude that although we are different in name, but we are same in nature. I hope report could bring something to whom interested in the two ethics.
Reference
1.Wikipedia, the free encyclopedia
2.Mission Statement;The Democratic Voice of
3.http://www.aapress.com
5. http://www.hilltribe.org/karen/
6. Hmong Religion and Expressive Culture,
http://www.everyculture.com/East-Southeast-Asia/Hmong-Religion
บทบาทของม้งในสงครามเวียดน
สาเหตุที่ม้งต้องหนีมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากทางตอนตอนภาคะวันออกเฉียงใต้ของจีนก็คือ จีนเห็นว่าม้งเป็นกลุ่มที่ประเพณีวัฒนธรรมที่ไม่ดี ถ้าให้อยู่ร่วมด้วยก็คงไม่เป็นมงคล จึงได้มีการทำสงครามใหญ่เป็นรอบที่สามในประวัติศาตร์ (ประวัติศาตร์การทำสงครามกับจีนก่อนหน้านี้สามารถหาอ่านได้นะคะ)
ม้งบางส่วนในมลทณยูนนาน เสฉวน และม้งที่อยู่ทางภาคตะวันออกของมลทณหวางเจาจึงได้ย้ายเข้ามาในประเทศลาวในช่วงประมาณปี 1800 เกือบประมาณ200ปีที่ม้งได้อยู่ที่นั่นอย่างเป็นถิ่นเป็นฐาน ไม่สู้รบกับใคร จนกระทั่งมาเมือไม่กี่ปีมานี้เอง สามสิบกว่าปีที่ผ่านมา ม้งกลุ่มหนึ่งนำโดยนายพลว่างเปา ผู้ซึ่งรับผิดชอบดูแลทุกข์สุขของผู้คนในกรุงล่องจ่งที่ม้งอยู่กันในลาว นายพลว่างเปาได้รับตำแหน่งสูงสุดให้ดูแลเมืองนี้หลังจากจบการเรียนทหารมา และต่อมาไม่นานเขาได้ร่วมมือกับสหรัฐต่อต้านคอมมิวนิตส์ในเวียดนามโดยไม่ขอความเห็นจากผู้อื่นเลย เราต้องเข้าใจก่อนนะว่าก่อนหน้านี้ชาติตะวันตกต่างหันมายึดครองโลกทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแรกเริ่มโดยฝรั่งเศลยึดและสามารถครองประเทศในแถบอินโดจีนำได้ ๑๑๔ ปี และแล้วหลังจากนั้นก็เกิดสงครามขึ้นเพราะการอยากได้เอกราชของประเทศกลับคืนมานี่เอง จนกระทั่งฝรั่งเศลต้องถอยออก เยอรมันและญี่ปุ่นจึงยุให้ลาวประกาศอิสรภาพแบ่งตัวออกจากการปกครองของฝั่งเศล ......ไม่นานต่อมาภายหลังต่อมาฝรั่งเศลก็หันมามีอำนาจอยู่ทางเวียดนามใต้โดยต้องการให้ระบอบการปกครองของเวียดนามเป็นแบบประชาธิปไตย ทั้งนี้ฝรั่งเศลได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ ส่วนเวียดนามเหนือต้องการการปกครองแบบคอมิวนิตส์ในเวียดนาม โดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและจีน เหตุนี้จึงเป็นจุดฉนวนให้เกิดสงครามในอินโดจีนอย่างรุนแรง (สงครามเวียดนามนะ ไม่ใช่สงครามโลกครั้งที่สอง ) ....สุดท้ายก็สงครามก็ยุติลงเพราะการยอมถอนตัวของสหรัฐในปี 1975 (สหรัฐแพ้นะถ้าจะว่าไป)
สำหรับการเกี่ยวข้องของม้งนั้น เนื่องจากว่าสมัยนั้นแถบอินโดจีนนั้นมีปัญหาเรื่องดินแดนกันทั้งหมด ลาวได้ถูกรวมอยู่ในนั้นด้วย ม้งจึงได้เข้าร่วมด้วย โดยย่อๆแล้ว สามารถสรุปย่อได้ว่า ม้งในระหว่างสงครามนั้นแบ่งออกเป็นสามกลุ่มด้วยกันคือ
๑.ม้งที่หนีออกมาจากลาวก่อนในชั่วที่กำลังจะเกิดสงครามและคนที่หนีออกมาหลังสงครามจบใหม่ๆ ม้งคนที่หนีมาก่อน เพราะไม่มีอุดมการณ์ที่จะร่วมกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่วนคนที่มาช้าหน่อยหลังสงครามเสร็จใหม่ๆ เพราะอยู่ไม่ได้ในประเทศนั้นแล้วจึงจำเป็นต้องสร้างทางตัวเองออกมาตามๆกัน พวกเค้าเริ่มมาอยู่ในไทยโดยเฉพาะทางตอนเหนือ
๒.ม้งกลุ่มที่ยังอยู่ที่ลาวผู้มีแนวร่วมต่อต้านการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงร่วมเข้ากับฝ่ายคอมมิวนิสต์เพื่อต่อต้านฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนี้ทุกวันนี้ยังในลาวอย่างสงบสุขนะ เพราะพวกเค้าไม่ได้ร่วมกับสรัฐต่อต้านคอมมิวนิสต์ ตอนนี้ก็มีม้งที่เป็นใหญ่คนโตทำงานในภาครัฐนะ เลยมีคนม้งหลายคนเลยว่า มำไมม้งที่ได้ดิบได้ดีในลาวจึงไม่สามารถช่วยม้งลาวที่หนีอยู่ในป่าได้...คงเข้าใจนะคะ
๓.ม้งที่มีแนวร่วมกับผ่ายประชาธิปไตย จึงได้เข้าร่วมกับสหรัฐ ม้งกลุ่มนี้ได้เอาชีวิตของตัวองเสี่ยงดีเสี่ยงร้ายกับสหรัฐม้งกลุ่มนี้แบ่งออกได้ ๓ กลุ่มย่อยอีกคือ
๓.๑ ม้งที่ปัจจุบันยังหลบซ่อนตัวอยู่ลาวและศูนย์อพยพในไทย กลุ่มนี้ไม่มีความสุขเอาเสียเลย คนที่อยู่ในลาวทุกวันนี้ได้รับความไม่เป็นธรรมจากรัฐบาลลาว (เพราะแต่ก่อนไม่มีแนวร่วมกับเวียดนามนั่นเอง) หากตามสัญญาที่สหรัฐให้มากับม้งกลุ่มก็คือ “ไม่ว่าสงครามจะแพ้ชนะ สหรัฐก็จะรับผิดชอบทุกอย่าง” แต่สรุปคือ สหรัฐแพ้ แล้วไม่สามารถนำม้งกลุ่มนี้ไปได้หมด เค้าพาไปแค่คนที่เป็นทหารไปก่อน และต่อมาก็ครอบครัวของทหาร แต่อย่างไรก็ตามถึงวันนี้สหรัฐก็ยังไม่สามารถที่จะดูแลม้งกลุ่มนี้ได้อย่างทั่วถึง พวกเค้าก็เลยต้องแอบอยู่กันอย่างไม่สุข บ้างก็ยังมีความคิดที่จะล้มรัฐบาลอยู่ ตามรายงานข่าวก็มีรายงานว่า ม้งที่อยู่ในป่ากลุ่มนี้ยังเคลื่อนไหวตัวเพื่อจะก้อกบฎลาว โดยได้รับเงินสนับสนุนจากผู้อื่น(ข้อมูลนี้เป็นเพียงการสันนิฐานนักข่าวต่างชาติที่เข้าไปทำข่าวในลาว ยังไม่ได้มีการยืนยันขององค์กรใดนะ) ส่วนคนที่ลี้ภัยมาก็ได้แต่รอที่จะไ ปอยู่ประเทศประชาธิปไตยประเทศที่สามกันดังที่เห็นกันตามศูนย์อพยพกันนะคะ
๓.๒หมายถึงม้งที่มีความสะดวก ปลอดภัยในชีวิตแล้ว ม้งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สหรัฐได้จัดให้ไปอยู่ตามประเทศต่างๆแล้ว ก็ได้กระจายกันอยู่ตามประเทศเสรีที่ช่วยสหรัฐทำสงครามกันในสมัยนั้น เราจึงมีม้งเมกา ม้งฝรั่งเศล ม้งออสแตรเลียไง
๓.๓ ม้งที่หนีออกมาหลังสงครามจบสิ้น ได้แก่ ม้งที่เพิ่งมาอยู่ในไทยไม่นาน พม่า และเวียดนาม
แต่ที่แน่ๆคือไม่ว่าม้งกลุ่มไหนก็ช่าง พวกเค้าทุกคนที่เป็นผู้ชายต้องถูกบังคับเป็นทหารกัน เด็กอายุยังน้อยก้ต้องเป็น ประชากรม้งรวมทั้งชายหญิง เด็กผู้ใหญ่ที่เสียชีวิตลงในสงครามนั้นมีเกือบ 2/3ของประชากรม้ง น่าสงสารจังเลย
ทั้งหมดนี้เกิดจากความเข้าใจของหนูเองที่ได้จากการอ่านนะคะ หากผิดถูกอย่างไรก็ช่วยแก้ไขด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ...
I Follow These Social Networks
My Friends' Blogs
India and I
- There are alots of things which waiting for us to discover. All knowledge is not around us,but inside. It is depended upon our ability to realise and pick it up. The apple falls from the tree,and if Newton failed to learn from it,then the law of gravitation would have not been discovered!!!
- India is the country of contrast. You often see someting beyound your expectation.Yet,and I found that there is a tool similar to Hmong's ones expecially the stick used for balancing the two baskets for carrying water. I observed that their's one is like ours only. In Hmong language we can read it phonetically as " / dΛ ŋ/ ". This attracts me to look forward for the connection.
- India has also have a interesting story "Why corps in the filed do not come home themselves like in the past?" I have heard this story when I was a child. Thus when I came across this Indian legend ,it reminds me of the Hmong version. If you are interested you can check it out form my page in Thai text,otherwise you can surf it. This story creates another couriosity in me. I want to find out if we had been to India before we reached in China. Because the ICE AGE or the Peleolithic Age or The Earliest traces of human existance was in India.
- India is where we Hmongs think that there are also Hmongs live in. But I have experienced that there is not Hmong Indian. Yet,there is a gruop of people who call themselves as "Mizo"(with the similarity of the Hmong's names given by the Han, i.e. Miao zu,Meo or even Mizo ) .But as far as I have learnt form my Mizo friends in college,our language is competely different to one another.Moreover, our dress also is different. However there are many Hmong researchers suggested me that there are Hmongs living in India,and yes, there are Hmongs living here, but only living for studying.
- I was in debt to India. She educates,guides and teaches me how to be a great survior.
- เป็นกำลังใจให้ทุกคนๆเดินออกมาพร้อมความสำเร็จนะ
- ใครเรียนอยู่อินเดียบ้าง..ขอมือหน่อย