From Hmong Cultural Capitals to Political Identities
ทุนทางวัฒนธรรมม้งสู่อัตลักษณ์ทางการเมือง
ชาติพันธุ์ม้งเอื้อประโยชน์ต่อการระดมแนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์ได้อย่างไร?
จากการได้อ่านทบทวนงานวรรณกรรมทั้ง 2 คือเรื่อง “การซ่อมสร้างประวัติศาสตร์และความทรงจำหลอน:
กรณีศึกษากิจกรรมจากความทรงจำกรณีถังแดงในชุมชนลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง" เป็นงานศึกษาของนักศึกษาพัฒนาสังคม และ "การยุติเสียงปืนแตกบริเวณ 3 จังหวัด (พิษณุโลก-เลย-เพชรบูรณ์)" เขียนโดยโดยนักศึกษาทหาร ซึ่งมีศัตรูเป็นพรรคคอมมิวนิสต์และกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง งานทั้งสองพยายามที่จะนำเสนอภาพของผลจากสงครามคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย หลังจาการอ่านงานทั้งสองนี้แล้ว ทำให้ข้าพเจ้านำมาสู่ประเด็นความสนใจอีกระดับหนึ่งที่ต่อยอดจากประเด็นคำถามวิจัยของ ไพโรจน์ในงานวิจัยที่ข้าพเจ้าทบทวนที่ว่า “อะไรเป็นสาเหตุให้ชาวเขาเผ่าม้งให้ความร่วมมือกับพคท.” สู่ความสงสัยที่ชวนให้ค้นคว้า คืออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ม้งนำไปสู่แนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์ได้อย่างไร?
ตามที่ได้ทราบมาแล้วว่าในช่วงที่คอมมิวนิสต์ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และจับการปะทะกันกับเจ้าหน้าที่รัฐตั้งแต่ปี 2509 นั้น ทำให้เกิดวิกฤตทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ประชาชนจากเหนือจรดใต้ตกเป็นเหยื่อของอุดมการณ์ผู้นำทั้งสองฝ่าย คือ รัฐ และ พคท. ท่ามกลางสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยการแย่งชิงทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นแนวร่วมของแต่ละฝ่าย คำตอบของประชาชนไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจการตัดสินใจของประชาชนแต่อย่างใด หากแต่ขึ้นอยู่กับผู้ถามคำถามว่าอยู่กับฝ่ายใด หากฝ่ายคอมมิวนิสต์เป็นคนถามประชาชนว่า “เป็นแนวร่วมกับเราไหม?”ถ้าหากคำตอบนั้นคือไม่” ก็นำไปสู่การฆ่า
จากงานที่ทบทวนมา จะเห็นได้ว่า ชาวบ้านในชุมชนลำสิ้นธุ์นั้นถูกจับตายเพราะรัฐสงสัยว่าสายให้กับศัตรูอย่างคอมมิวนิสต์ และคนบริสุทธิ์จำนวนมากแม้ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ก็ถูกหมายหัวไว้ในบัญชีรายชื่อของรัฐแล้วนำไปสู่การเผาลงถังแดง ชาวตื่นตระหนกตกใจและเกรงกลัวต่อการกระทำความรุนแรงของรัฐ บางส่วนหนีไปอยู่ในป่า เพราะกลัวจะที่จะถูกรัฐเอาชีวิตไป แต่กลับถูกรัฐกล่าวหาว่า เป็นผู้ให้สายข่าว“ม้าเร็ว” กับคอมมิวนิสต์อีก และเมื่อไปอยู่ในป่า ก็ไม่อยากเป็นคอมมิวนิสต์ ก็จะถูกคุมตัวโดยฝ่ายคอมมิวนิสต์อีก อย่างนี้แล้วประชาชนผู้ที่อยู่เฉยๆ ไม่ร่วมกับอุดมการณ์ใดๆ จะเป็นอย่างไร
ในงานของ Tapp(1989)ได้วิเคราะห์สถานการณ์ของคนม้งที่อยู่เฉยๆ ไม่ร่วมกับอุดมการณ์ใด เขาค้นพบว่า ชาวม้งที่ไม่ร่วมกับใครก็จริง หากแต่ต้องถูกความกดดันจากทั้ง 2 ฝ่าย ทำให้ไม่มีความสุขแม้แต่นิด ยิ่งการประกอบอาชีพแล้ว ชาวบ้านยิ่งทำอะไรไม่ได้ เพราะทำไปแล้ว พอภัยต่างๆมา ก็ต้องกลบหนีไปถิ่นอื่น ความแน่นอนในถิ่นที่อยู่อาศัยนี้เองที่เป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะปักหลักการเพาะปลูกในแต่ละฤดูกาล และเมื่อเป็นแบบนี้แล้ว ชาวม้งเหล่านั้นก็ยิงกว่าการทำร้ายตนเองในทางอ้อมด้วยเช่นกัน (Tapp,1989)
ข้าพเจ้าจึงคิดว่า “ใช่ว่าคอมมิวนิสต์คือศัตรูตลอดกาล และใช่ว่ารัฐคือผู้ดีเสมอมา: พลวัตของอัตลักษณ์ว่าด้วยเรื่องผลประโยชน์”
ทำไมม้งถึงถูกดึงไปร่วมอุดมการณ์อย่างง่ายดาย ในขณะที่ชุมชนลำน้ำสินธุ์ส่วนใหญ่ไม่ยอมร่วมกับคอมมิวนิสต์ ?
หากจะเอาข้อค้นพบที่พล. ต. ไพโรจน์ จันทร์อุไร (2530-2531) ในงานวิจัยเรื่องที่ทบทสวนมาแล้วนั้นมาตอบ ก็คงไม่เพียงพอ เพราะงานของเขานั้นเป็นงานที่เน้นศึกษามานุษยาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง งานของเขาจึงขาดมิติการวิเคราะห์โครงสร้างทางสังคมม้งที่เอื้อหนุนต่อการการเข้าร่วมกับ พคท.
สิ่งที่ผู้วิจัยหมายถึง “มานุษยาวัฒนธรรม” นั้น ข้าพเจ้าให้คำจำกัดความว่า คือ “ลักษณะพฤติกรรมทางวัฒนธรรมและค่านิยมทางสังคม” ซึ่งเขาได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. ทักษะทางการทหารของม้ง2. ค่านิยมสตรีม้ง ดังนี้
1. ทักษะทางการทหารของม้ง
เราได้ทราบมาแล้วว่า คนม้งนั้นถูกดึงเป็นพลเมืองของคอมมิวนิสต์ตั้งแต่แรกเลย นับจากพรรคคอมมิวนิสต์ลาวติดต่อกับ พคท. ให้คัดเลือกชาวม้งในพื้นที่ เชียงราย น่าน และเพชรบูรณ์จำนวน 400 คน ในการไปเรียนการทหารและการเมืองที่ลาว ใน พ.ศ. พ.ศ. 2493 เพื่อเข้าทำสงครามกับกองทัพหลวงของลาวในจังหวัดเซียงขวาง
ในนัยของข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้น มีนัยของการที่ผู้ปกครองประเทศนั้นเล็งเห็นความสามารถทางการทหารของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง จะเข้าใจและมีเหตุผลมากยิ่งขึ้น หากเราเข้าไปดูบริบททางประวัติของการต่อสู้นับจากจีน ลาว และไทยที่ผ่านมา
มักจะมีผู้คนกล่าวถึงม้งบ่อยๆว่า “ม้งรักอิสรภาพ”ในนัยนี้คือ มักต่อต้านมากกว่ายอมสยบ แม้ในแง่หนึ่ง จะดูเป็นคนเงียบขรึมรักธรรมชาติและความสนุกสนาน แต่ในการสู้รบเพื่อความเป็นไทของตนนั้น ม้งได้พิสูจน์ให้เห็นตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแล้วว่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่กล้าหาญและมีวิญญาณนักสู้ ทำสงครามผู้ผู้รุกรานมาตลอดนับแต่อยู่ประเทศจีน มายังเวียดนาม ลาว ไทย และแม้แต่ข่าวที่ประเทศที่ 3 จะมาถล่มประเทศลาว เมื่อไม่กี่ปีตามลำดับ หากการรบนั้นทำเพื่ออิสรภาพและรอดพ้นจากการถูกกดขี่ข่มเหงแล้ว ม้งหาใดปฏิเสธกับอุดมการณ์ใดเวียตมินท์ได้เลือกใช้ม้งทำการสู้รบต่อต้นฝรั่งเศส เพราะตนได้เรียนรู้คุณลักษณะทางทหารและความเป็นนักรบของม้งเรียบร้อยแล้ว (นวล หิญชีระนันทน์, 251818: 57) ทำนองเหตุการณ์ที่ผ่านมาช่วงสงครามเย็น ในราชอาณาจักรลาว และไทยมีการช่วงชิงมวลชนม้งอย่างเข็มข้นทั้งฝ่ายรัฐบาลลาว (อุดมการณ์เสรีประชาธิปไตย) และฝ่ายอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ต่างเห็นประโยชน์ในส่วนนี้ จึงเกณฑ์ชาวม้งเป็นทหาร ลำเลียงอาวุธ และเป็นผู้นำทางเนื่องจากเชี่ยวในป่า (อ้างแล้ว,2518 น.40-48)
งานวิจัยของ ไพโรจน์ ที่ทบทวนมาแล้วนั้นชาวม้งในสายตาของรัฐคือ “ชาวเขาผู้เป็นแนวร่วมชั้นสูงมุมกลับ” ซึ่งยากต่อการทำลายล้างตามที่ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ กล่าวว่า “การทำลายกองทัพ พคท.นั้นง่ายมาก แต่การทำลายแนวร่วมนั่นยากมาก โดยเฉพาะแนวร่วมมุมกลับนั้นทำลายยากมาก เพราะแนวร่วมชั้นสูงเหล่านี้มีทั้งทางตรงและมุมกลับ”
2. ค่านิยมสตรีม้ง
เขาชี้ให้เห็นว่า การที่ชาวม้งถูกระดมเป็นมวลชนคอมมิวนิตส์ได้มากกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นนั้น เป็นเพราะสังคมม้งไม่ได้ให้ความสำคัญกับสตรีม้ง ซึ่งต่างจากคนไทยที่สตรีไทยนั้นถือเป็นค่านิยมระดับชาติ การที่สตรีม้งอยู่ในสถานะที่ถูกเบียดขับออกจากค่านิยมม้งนี่เอง ทำให้สตรีเหล่านี้เมื่อถูกคอมมิวนิสต์ปลูกระดมเรื่องความเท่าเทียมกัน ทำให้พวกเขาพร้อมที่จะก้าวเข้าไปสู่โครงสร้างทางสังคมใหม่ เพื่อปลดปล่อยตนเอง ซึ่งข้าพเจ้าเองก็เห็นด้วยในจุดนี้ด้วย กรณีตัวอย่างแบบนี้ในปัจจุบัน อาจมองได้ในรูปของศาสนา กล่าวคือ เมื่อความเชื่อและพิธีกรรมม้งไม่เปิดให้กับกลุ่มสตรีม้งเลย เมื่อมีโครงสร้างความเชื่อทางพระพุทธศาสนาหรือศาสนาคริสต์เข้ามา กลุ่มสตรีเหล่านี้ก็จะพยายามกระโดดเข้าไปอยู่ในโครงสร้างที่พวกเขาเองนั้นสามารถจัดการกับตัวเองได้อย่างอิสระ และมีอำนาจในการตัดสินใจทางสังคมด้วยทัดเทียมกับผู้ชาย หรือแม้กระทั่งการเข้ามาสู่วงการการศึกษาของสตรีม้งก็เป็นอีกกรณีตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งอดีตมักจะถูกมองว่า “เรียนไปก็ไปเป็นแรงงานให้คนอื่นอยู่ดี” สตรีม้งในอดีตจึงไม่ต้องเรียนหนังสือ หากแต่ชายม้งนั้นมักจะได้เรียน ได้มีประสบการณ์จากการติดต่อกับผู้คนภายนอกบ้าน ทำให้พวกเขาสามารถสื่อสารหลายภาษาไทย ต่างกับปัจจุบันที่ อัตราการเรียนหนังสือของสตรีหญิงกับขายม้งนั้นต่างกันสิ้นเชิง อีกทั้งกลุ่มสตรีบางส่วนปฏิเสธการแต่งานกับชายม้ง เพราะต้องการหลุดออกจากสังคมม้งที่ให้ความสำคัญเฉพาะกับผู้ชาย ข้าพเจ้าก็เป็นคนหนึ่งที่พยายามดิ้นให้หลุดออกจากกรอบความคิดเดิมนี้ด้วยการศึกษา
ในงานของ Nicholas Tapp (1989)ได้ช่วยทำต่อเติมความอยากรู้ ไพโรจน์ ในงานศึกษาของเขาด้วย คือ Tapp มอง ตัวโครงสร้างใหญ่หรือสถาบันของสังคมม้งประกอบการใช้ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ขณะ นั้น มาช่วยให้น้ำหนักข้อเสนอของตนด้วย กล่าวคือ การไม่มีสถาบันผู้นำที่เป็นตัวแทนของคนม้งนี่เอง กลายเป็นจุดอ่อนของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งแม้ในสังคมม้งจะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับกษัตริย์ก็ตาม แต่หากตามประวัติศาสตร์ที่บันทึกเป็นอักษรนั้นไม่มีหลักฐานสนับสนุน สิ่งที่เขาสนใจตรงจุดนี้คือ การที่กลุ่มชาติพันธุ์ม้งไม่มีผู้ปกครองหรือไม่มีผู้นำนี่เอง ทำให้พวกเขาขาดความรักความสามัคคีกัน พวกเขาขาดคนที่จะดูแล ปกป้อง และนำทางเขา ทำให้เมื่อเกิดปัญหาใหญ่ในสังคม พวกเขาไม่รู้จะไปในทิศทางไหน แม้จะมีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติก็จริง หากแต่จุดนั้นเพื่อการช่วยเหลือเกื้อกูลกันมากกว่า ฉะนั้นตัวโครงสร้างที่เป็นศูนย์รวมใจของทุกกลุ่มตระกูลแซ่นั้นไม่มี จึงทำให้เมื่อเกิดวิกฤตกับกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่ม ก็จะหาจุดหลอมรวมใจเป็นหนึ่งเดียวไม่ได้ เมื่อเกิดความขัดแย้งกับด้านหนึ่ง ก็จะพึ่งจะตกเป็นเหยื่อของอีกด้านหนึ่งได้ด้วยง่าย เพราะไม่มีจุดยึดเหนี่ยวของจิตใจ
นอกนี้แล้ว Tappมีข้อสังเกตเกี่ยวกับขบวนการเจ้าฟ้าม้งฟื้นคืนชีพ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่ถูกสร้างเป็นกระแสในการปลุกระดมมวลชนเข้าเป็นคอมมิวนิสต์ และผลก็คือ มีหมู่บ้านต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่เดินทางไปต้อนรับการฟื้นคืนชีพของเจ้าฟ้า แต่แล้วตกเป็นเหยื่อของคอมมิวนิสต์ไปโดยง่ายดาย เขาชี้ให้เห็นว่า แท้จริงแล้วกลุ่มชาติพันธุ์ม้งต้องการผู้ที่ชี้นำพวกเขา และในหลวงก็เป็นผู้ปกครองที่ดีให้กับม้งมาตลอด
ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับข้อเสนอของ Tapp ว่า กลุ่มชาติพันธุ์ม้งนั้นมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ไทย แต่ไม่ใช่กับรัฐบาลไทย ดังเห็นได้จากโครงการพัฒนาบนพื้นที่สูง และโครงการพระราชดำริของพระองค์ท่าน กลุ่มชาวม้งได้ตอบสนองโครงการเหล่านั้นเป็นอย่างดี หากแต่กับเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ได้นัก ทั้งนี้เกิดจากการที่ภาครัฐเองส่งเสริมโครงการต่างๆ โดยไม่พิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่และวิถีชีวิตของผู้คนแต่อย่างใด นำไปสู่ความล้มเหลวในการพัฒนาประเทศอีก คือ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนเมืองและคนชนบท ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ 1 ที่ไทยรับงบประมาณสนับสนุนมหาศาลจากสหรัฐอเมริกา เพื่อพัฒนาพื้นที่สูงเหล่านี้สู่วิถีการทำเศรษฐกิจรูปใหม่พร้อมๆกับการนำพวกเขาสู่ความเป็นไทย โดยเป้าหมายหลักของสหรัฐอเมริกาในสมัยนั้นแล้ว เขาเพียงแค่ต้องการปราบคอมมิวนิสต์ ใช้ไทยเป็นฐานต้านคอมมิวนิสต์ จึงได้ให้งบประมาณขนานใหญ่ พัฒนาพื้นที่ในชนบท เพื่อเป้าหมายหลักคือ ปราบปรามคอมมิวนิสต์
การมีจุดอ่อนดังกล่าว ทำให้แรงขับเคลื่อนในฐานเศรษฐกิจของม้งนั้นต่ำด้วย เมื่อเกิดเหตุการเมืองรุนแรงอย่างช่วงสงครามคอมมิวนิสต์ที่ผ่านมา ก็ส่งผลกระทบต่อเศรฐกิจที่ไม่สามารถเลี้ยงชีพตนเองได้ด้วย บวกกับการถูกขุดรีดจากเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ยิ่งเป็นแรงผลักให้ลุกขึ้นสู้กับฝ่ายปฏิวัติ
ข้าพเจ้ามีความทรงจำร่วมจากคำบอกเล่าของแม่ ซึ่งแม่เล่าว่า “เพลงดั้งเดิมของม้งที่เขาเอาไปด้นด่าศัตรู และสาธยายความดีของฝ่ายตนนั้น มีคำพูดและท่วงทำนองที่เพราะพริ้งมาก มีคนเปิดออกรายการวิทยุให้ฟังทุกวัน ตอนนั้นยังเด็กอยู่ ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมถึงพูดคำว่า “ศัตรูๆ”….โอ้ว! มันนานแล้ว แต่พอลูกถามถึงอ่ะ ความทรงจำกับเสียงนั้นมาเลย” คุณแม่ของข้าพเจ้าอยู่ที่หมู่บ้านดอยมูเซอ ต.แม่ท้อ อ.เมือง จ. ตาก ซึ่งเขตนั้น เป็นเขตที่มีนิคมมาตั้งอยู่บริเวณนั้นด้วย
ความสงสัยกับการที่คุณแม่ของข้าพเจ้ามีญาติพี่น้องอยู่ที่หมู่บ้านน้ำซุ้ม อ. หางดง เพิ่งกระจ่างชัดเจน ตอนที่คุณยาย (มีศักดิ์เป็นยายข้าพเจ้า) เล่าให้ฟังถึง การที่ลูกหลานตนเองมีความเห็นต่างทางการเมือง ว่าจะอยู่กับฝ่ายไหนดี เมื่อคนพี่เลือกคอมมิวนิสต์แล้ว ก็พยายามยุยงให้คนน้องและญาติๆเป็นแนวร่วมอีก จนครั้งแล้วครั้งเล่า คนม้งและญาติๆไม่ยอมเป็น (จึงได้เช่ารถเมล์ซึ่งลักษณะเหมือนรถเมล์ที่ตอนนี้ยังใช้กันที่ จ.ลำปาง ระหว่างทาง รถมันเก่า ไม่ได้เหมือนสมัยนี้ ยางล้อรถแตก รถคว่ำ ญาติเสียชีวิตอีก , หนู่จู่ แซ่ย่าง)จึงได้เดินทางมาตั้งหมู่บ้านที่ปัจจุบันนี้อยู่ คือ น้ำซุ้ม (หม่อ แซ่ท้าว, 2555)
จะเห็นได้ว่า ระบบของคอมมิวนิสต์นั้น เล็งเห็นประโยชน์ของของการใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่กลุ่มชาติพันธุ์ม้งมีอยู่นั้นได้ทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะเป็นจุดอ่อนเชิงโครงสร้างทางสังคมม้ง ซึ่งถือเป็นทุนปลุกระดมมวลชนให้ตนเอง จุดแข็งของวัฒนธรรมก็กลายเป็นประโยชน์ในการชวนเชื่อแบบมีเล่ห์เลี่ยม เช่น เพลงดั้งเดิมซึ่งเป็นที่นิยมของทุกวัยในสมัยนั้น ก็สามารถนำเรื่องราวคอมของคอมมิวนิสต์ไปเสนอด้วยภาษาและทำนองของม้งได้ ซึ่งทำให้ชาวม้งรู้สึกว่าเป็นของ “ของตนเอง” มีความรู้สึกร่วมโดยปริยาย เหมือนกับคุณแม่ของข้าพเจ้า การใช้ความเป็นเครือญาติบังคับขู่เข็ญก็เป็นผลสำเร็จเป็นกรณี บ้างยอมเป็นเพราะเห็นแก่ญาติที่มาชวนทุกวัน แต่บ้างก็ปฏิเสธอย่างรุนแรงถึงขั้นพี่น้องฆ่าพี่น้องกันก็มี หรือไม่ก็หลบหนีไปอยู่ที่อื่นอย่างหมู่บ้านน้ำซุ่มที่กล่าวมา
กล่าวโดยสรุปคือ อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์เอื้อต่อการโฆษณาชวนเชื่อของ พคท. เป็นอย่างมาก อัตลักษณ์จึงกลายเป็นทุนทางการเมือง (Political Capitals) ต่อพรรคคอมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในการช่วงชิงมวลชนกับรัฐ
ทุนทั้ง 2 นี้เองที่ไม่มีในกลุ่มของชุมชนลำสินธุ์ดังเห็นได้จากความทรงจำที่ไม่ได้มีมิติของวัฒนธรรม และความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด การต่อต้านของชาวบ้านลำสินธุ์ ไม่ใช่เป็นการอพยพย้ายถิ่น แต่เป็นการพยายามเงียบ ทำตัวให้ไม่เป็นที่สงสัยของรัฐ ตามที่ได้กล่าวในงานวิจัยของ จุฑารัตน์ กับกรณี “ถังแดง” ไปแล้วในบทที่ 2 ซึ่งชาวบ้านที่นั่นข้าพเจ้าคิดว่า เขาเป็นชุมชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ที่นั่นมานานแล้ว ไม่ได้มีมิติของอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์มาเกี่ยวข้องและถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเหมือนกับกรณีของม้งดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น แต่อย่างไรก็ตามงานของโพโรจน์ก็ช่วยให้ไขข้อข้องใจของเรากับกรณีชาวบ้านลำสินธุ์ที่ไม่ยอมเข้าป่าไปพึ่งคอมมิวมิตส์ เพื่อหลีกเลี่ยงถูกรัฐบาลสังหารด้วย“ถังแดง” กล่าวคือไพโรจน์ได้รวบรวมการศึกษาเกี่ยวพฤติกรรมหรือทัศนะของคนไทยว่ามีลักษณะดังข้างล่างนี้ จึงทำให้คอมมิวนิสต์ไม่สามารถเติบโตในกลุ่มคนไทยได้มากนัก เขาเห็นว่า คนไทยแม้จะมีปัญหาทางเศรษฐกิจก็ตาม แต่คนไทยก็ยังรักสงบ และมีความอดทนต่อความยากลำบากสูง ได้น้อย ใช้น้อย ได้มากใช้มาก มีความเชื่อมั่นในผู้นำอย่างมาก ยากที่จะถอนตัวเอาใจออกห่าง จึงทำให้ไม่สนใจการเมืองและอุดมการณ์หลอกลวงใด ซึ่งจำแนกออกเป็น
1. อำนาจนิยม (Authoritinism) คนไทยส่วนใหญ่ยอมรับอำนาจเด็ดขาด เพราะเห็นว่าไม่เยินเย้อและยอมรับการสูญเสียบ้าง
2. ยืดมั่นในระบบอุปถัมภ์ (Patron Client Relationship) ต่างฝ่ายต่างรักษาผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน มีนายมีเบ่า นายบางคนยอมล้มละลาย ล่มจม เพื่อรักษาสถานะของเบ่าไว้ จึงทำให้สงคมอยู่ได้
3. บุคคลนิยม (Pensonalism) ยืดถือบุคคลมากกว่าเหตุผล
4. มีความสัมพันธ์ที่เป็นไปตามลำดับชั้น (Hieratical Relationship) ยอมรับในสถานะของตนเอง และมีระบบความสัมพันธ์แบบสูง-ต่ำ (ความอาวุโส)
5. ปัจเจกนิยม (Individualism) จะทำการละเมิดทุกอย่างถ้าทำได้
6. ประเพณีนิยม (Traditionalism) เชื่อปรากฏการณ์นอกเหนือธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการวิเคราะห์
7. เฉื่อยชา (Passivity) ไม่สนใจการเมือง
8. ระแวง (Pessimism) ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจผู้อื่น
9. รักสงบ (Peace loving and Compromise) หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง มักมีความเกรงใจที่จะวิพากษ์ในสิ่งที่ต่าง (เนาวรัตน์, 2530, โพโรจน์, 2530-2531: 16)
นอกจากนี้ ไพโรจน์ ให้ความเห็นว่า “ความเป็นไทยที่ไม่เคยอยู่ภายใต้อาณานิคมต่างชาติพวกล่าอาณานิคม จึงไม่ง่ายเหมือนประเทศเวียดนาม และการที่ประเทศไทยไม่เคยตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมหรือล้มละลายยากเข็นอย่างประเทศจีน เช่น ในสมัยเหมาเจอตุง ประเทศไทยก็มีเฉพาะแบบไทย(UniqueThaism) เช่น ชาวนาส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเอง หรือหากเช่า บรรดาผู้ให้เช่าก็ไม่ได้ตั้งตนเป็นเจ้าของที่ดิน (Landlord) อย่างแบบชาวตะวันตกในอดีต
อีกทั้ง ด้วยสังคมไทยกับการให้เกียรติสตรีก็เป็นค่านิยมประจำชาติ การปลุกระดมขงสตรี พคท. จึงไม่บรรลุความสำเร็จในประเทศไทย นอกจากการตื่นตัวทางการเมืองคนไทยยังมีน้อย โดยมีทัศนคติว่า การเมืองเป็นเรื่องของคนที่ไม่มีอะไรจะทำ “การเมืองจึงเป็นเรื่องของนักการเมือง” นอกจากนี้การมีพระมหากษัตริย์ช่วยทำให้คนไทยมีศูนย์รวมใจของคนไทย ดังนั้นคอมมิวนิสต์จึงไม่อาจหยั่งรากลึกเข้าไปสู่คนไทยได้อย่างเบ็ดเสร็จ และหากจะคิดทำปฏิวัติ นั่นเป็นการนำชาติไปสู่อนาธิปไตย (Anarchy) เท่านั้น”(อ้างแล้ว, 2530-2531:28)
คำอธิบายนี้เป็นชุดคำอธิบายหนึ่งที่ทำให้เราเข้าใจ “ลัทธิคอมมิวนิสต์” มากขึ้นว่า ชนชั้นที่จะลุกขึ้นมาปฏิวัตินั้น ไม่ใช่ชนชั้นที่ยากจน มีปัญหาทางเศรษฐกิจ และขาดผลประโยชน์ร่วมอย่างเดียว มีเงื่อนไขทางจิตใจที่มาเกี่ยวข้องด้วยด้วย
ข้าพเจ้ามีความเห็นต่อกรณีของม้งที่ยอมเป็นแนวร่วมคอมมิวนิสต์ และลุกขึ้นสู้กับรัฐด้วยนั้น คงเป็นเพราะสภาพจิตใจของม้งนั้นมีความขัดแย้งต่อรัฐอยู่แล้วด้วยเรื่องของ การเก็บภาษีเถื่อนๆ ตามที่ประสิทธิ์ (2541) ในบทความเรื่อง “กลุ่มชาติพันธุ์ม้งกับปัญหายาเสพติด” โดยชาวบ้านต้องเสียภาษีฝิ่นเถื่อนให้กับเจ้าหน้าที่ทุกกลุ่มที่มาในหมู่บ้าน” บวกกับการถูกตีตราถึงการพฤติกรรมตัดไม้ทำลายป่าด้วย จึงสร้างแรงผลักให้ม้งเข้าร่วมขบวนการกับ พคท. เป็นจำนวนมากกว่ากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงอื่นๆ
ข้าพเจ้าสรุปบางตอนในบทความ “กลุ่มชาติพันธุ์ม้งกับปัญหายาเสพติด” ของประสิทธิ์มา เพื่อชี้ให้เห็นถึง ความเป็นม้งบางอย่างที่ทำให้ตกเป็นเครื่องมือของอำนาจเสมอมา จนสิ่งเหล่านั้นกลายเป็นอัตลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับม้งไปในที่สุด เช่น ม้งกับฝิ่น ม้งแดง และม้งยาบ้า สรุปย่อดังนี้ “ภาพที่กว้างขึ้นกับการที่กลุ่มชาติพันธุ์ตกเป็นเหยื่อทางการเมืองอย่างชัดเจนนั้น เห็นได้จากม้งในลาวและไทยถูกผู้ปกครองประเทศและต่างประเทศใช้เป็นเครื่องมือในการปลูกฝิ่น กล่าวคือ ในประเทศไทยช่วง 2480 รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการปลูกฝิ่นให้ชนกลุ่มน้อยในภาคเหนือทำการปลูกฝิ่นป้อนโรงงานยาฝิ่นในประเทศคนม้งซึ่งอยู่บนพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกฝิ่นและมีทุนความรู้เดิมในการปลูกฝิ่นอยู่แล้ว จึงถือผู้ผลิตฝิ่นที่สำคัญของไทย อีกทั้งยังถูกขุดรีดภาษีฝิ่นเถื่อนให้กับเจ้าหน้าที่ทุกกลุ่มที่เข้ามาด้วย กรณีม้งในลาว ก็ถูกฝรั่งเศลหรือสหรัฐอเมริกาใช้เป็นเครื่องมือในกระบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติ โดยมีการสนับสนุนให้ชาวม้งในลาว ทำการผลิตฝิ่นดิบแล้วรับซื้อโดยผู้ปกครองเหล่านั้นเพื่อนำมาขายให้กับชาวฝรั่งเศลและชาวอเมริกาอีกต่อหนึ่งที่ถูกส่งไปปฏิบัติหน้าที่ในเวียตนามใต้ ไทย และฟิลิปปินส์ (McCoy, ประสิทธิ์, 2541:136-163)
ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ความเป็นชาติพันธุ์ม้งดูเหมือนจะเอื้อกับทุกบริบทของสังคมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน นับแต่บริบทของฝิ่นที่กล่าวมาแล้วนั้น คนม้งก็ตกเป็นเครื่องมือของผู้ปกครองประเทศในการผลิตฝิ่นเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน บริบทของความขัดแย้งทางอุดมการณ์ระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายเสรีประชาธิไตย กลุ่มชาติพันธุ์ม้งก็ถูกเป็นเครื่องมือของพคท.ในการเผชิญหน้ากับรัฐและปัจจุบันในบริบทของการท่องเที่ยวและการส่งเสริมเศรษฐกิจไทย องค์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็ดึงความเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ไปเป็นจุดขายให้กับนักท่องเที่ยวในภาพลักษณ์ที่ตายตัว และเป็นไปในทางลบ รวมถึงงานฝีมือของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งที่สามารถนำไปปรับเปลี่ยนและประยุกต์แปลงเป็นผลิตภันฑ์ที่เป็นที่ต้องตาของผู้บริโภคโดยไม่มีลิขสิทธิ์ใดๆอาจกล่าวได้ว่า แม้ในอดีต กลุ่มชาติพันธุ์ม้งจะไม่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยมากนัก หากแต่ปัจจุบันนับว่า คนม้งเองก็มีบทบาทที่สำคัญทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคส่วนของการผลิตทางการเกษตรงานฝีมือ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ความยึดหยุ่น แปลงแปลง ประยุกต์ และพร้อมสร้างใหม่ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ข้าพเจ้าพยายามจะบอกว่า เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าพยายามทำความเข้าใจกับแนวคิด “พลวัตและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์” ของภาคเรียนนี้ ทั้งนี้ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่นำเสนอไปนั้นชัดเจนและตรงประเด็นหรือไม่ หากแต่ข้าพเจ้าพยายามสุดความสามารถ และภาคภูมิใจแล้ว.
บรรณานุกรม
จุฬารัตน์ ดำรงวิถีธรรม. 2552. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การซ่อมสร้างประวัติศาสตร์และความทรงจำหลอน:
กรณีศึกษากิจกรรมจากความทรงจำกรณีถังแดงในชุมชนลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง, สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นวลหิญชีระนันท์. 2518. ชาวเขาเผ่าม้ง, สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ.
ประสิทธิ์ ลีปรีชา. 2541. “กลุ่มชาติพันธุ์กับปัญหายาเสพติด” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม- ธันวาคม: 136-165.
ไพโรจน์ จันทร์อุไร.2530-2531. รายงานการวิจัยเรื่อง การยุติเสียงปืนแตกบริเวณ 3 จังหวัด (พิษณุโลก-เลย-เพชรบูรณ์), วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
Tapp, Nicholas. 1989. The Sovereignty and Rebellion: TheWhite Hmong of the Northern Thailand, Malaysia: Peter Chong Printers Sdn.Bhd.