Thursday, December 25, 2008

กระทู้ความเห็นที่ชวนคิดจากคนอาข่าคนหนึ่ง

ด้านล่างนี้เป็นความคิดเห็นของผู้ตอบกระทู้ท่านหนึ่งที่ตอบมาในกระทู้ของฉันในหัวข้อ "ม้งคือแม๋ว?( Hmong and Miao)ทำไมถึงจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน??" ซึ่งได้ลงไว้ในเวปของพิพิทธพันธ์ชาวเขาออนไลท์ ดิฉันเห็นว่าชวนให้คิดอะน่ะคะ ก็เลยเอามาแบ่งปันให้อ่าน หากใครสามารถตอบคำถามเค้าได้ก็ช่วยๆกันตอบหน่อยนะคะ



ความคิดเห็นที่ 4

ขออนุญาตแลกเปลี่ยนนะครับ การขานชื่อผมมองแบบสองพวกนะ พวกแรกคือเรียกไรก็ได้ล้วนแต่เป็นนาม ที่คนใช้เรียกไม่แคร์ กับการขานชื่อที่เป็นอคติเชิงชาติพันธุ์ เช่น กดขี่ ดูถูก หรือทำให้กลายเป็นจำเลยสังคม หรือประมาณว่าถูกพิพากษาโดยไม่ได้ถูกตั้งข้อหา

ประเด็นของคนชนเผ่า ในห้วงหัวใจ และห้วงความคิด เราคิดแบบไหน หรือถูกปฏิบัติอย่างไร? นั้นคือ คำตอบของปฏิกิริยาโต้ตอบ? กาลครั้งหนึ่งคนที่ได้ชื่อว่าสยาม เคยตีชนะหลวงพระบาง หรือประเทศลาว ได้นำสัญลักษณ์ในเชิงความเชื่อมาย้ำยี นั้นคือดอกลั่นทม นำมาปลูกป่าช้า ดอกชนิดนี้อดีตคนลาวนับถือมาก ถือว่าเป็นดอกไม้คู่พระบารมีของเจ้าฟ้าเหนือหัว แต่เมื่อรบชนะก็ต้อนคน กับทำลายในเชิงสัญลักษณ์แทน ......กลายเป็นสั่นทม ซึ่งแปลว่าเสียใจ และหนักข้อตรงไปปลูกป่าช้า.
กาลครั้งหนึ่ง พม่า เคยตีชนะสยาม ได้มีการเผ่าโบสถ์ วิหาร พระพุทธรูป เอาทองไปสร้างพระธาติชะเวงดะกอง (อยู่ย่างกุ้ง อันที่อยู่ท่าขี้เหล็กคือจำลอง ) การเผ่าพระพุทธเพราะรบชนะสยาม สัญลักษณ์ในเชิงจิตวิญญาณจึงถูกทำลาย

ที่ผมมาเปรย เพราะอยากชี้ให้เห็นว่าจะเรียกแม้ว แม๋ว นั้นมันอันเดียวกับม้ง ซึ่งเป็นคำที่ขนานนามด้วยเจตนาหรือด้วยเหตุการณ์ใดก็ตาม แต่สรุปการเรียนแม๋ว แม้ว ได้รับการยอมรับจากม้งหรือไม่ ด้วยเหตุผลอะไร นั้นคือ ปฏิกิริยา.............ตรรกะของผมคือ หากไม่ได้รับการยอมรับ ต้องมีคำตอบต่อสังคมเพราะเหตุใด เช่นเดียวกับคำว่าอีก้อ เพราะเหตุใดต้องทำความเข้าใจกับสังคม นี่คือหน้าที่ของคนชนเผ่าทุกคน
กระบวนการแก้ไม่ได้อยู่ที่การไปด่าหรือไปแก้ข่าว เพราะตามไม่ทันหรอก แต่หากเรามั่นใจว่าเรารู้จริง หรือสามารถตอบคำถามได้ทั้งในรูปแบบใดก็ตาม นั้นคือจุดแข็งที่เราควรตอบต่อสังคม เอ็นจีโอซีกชนเผ่าทำงานมายาวนานหัดทบทวนเรื่องนี้บ้างจะดี บทสรุปการแก้อคติเชิงชาติพันธุ์ มันขึ้นอยู่กับคนชนเผ่า ที่ต้องสร้างองค์ความรู้ขึ้นมา เพื่อวัดกับองค์ความรู้เก่า นั้นคือทางออก และทางรอด

ขออนุญาตถามไรหน่อย คุณมีข้อมูลไหมว่าม้งเข้ามาครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อไร และตรงไหน ผมแปลกใจกับข้อมูลม้งนะ ที่คนเก่าแก่ดั้งเดิมมักอ้างถึง ๒ ที่ นั้นคือบ้านดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย กับดอยอ่างข่าง จังหวัดเชียงใหม่ แต่เหตุใดม้งจึงไม่เหลือในพื้นที่เหล่านั้น และโยกย้ายด้วยเหตุผลใด นักวิชาการม้งตอบผมไม่ได้สักคนเลย

นี่ไม่ได้มาลองภูมินะ แต่อยากรู้ด้วยจิตวิญญาณของการเป็นนักมานุษยวิทยา ที่ใฝ่รู้ถึงความจริงหรือข้อเท็จจริงของม้ง




โดย : ป.อายิ เมื่อ วันจันทร์ ที่ 24 พฤศจิกายน 2551 เวลา 21:04:47 น. ip 118.172.119.206,

----------------------------------------------------------------------------------


----------------------------------------------------------------------------------

ด้าล่างนี้เป็นส่วนที่ดิฉันตอบไปเองนะคะ....ใครมีความเห็นอะไรเพิ่มเติมก็อย่าลืมฝากมาด้วยนะจ้า

ความคิดเห็นที่ 5

ค่ะ ขอบคุณมากนะคะ สำหรับการแลกเปลี่ยนความเห็นของท่าน
ดิฉันเห็นด้วยกับท่านด้วยเหมือนกันนะคะ ที่ว่ากราเรียกชื่อนั้นแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ความความชอบของแต่ละกลุ่มคนที่จะเรียกคนอีกกลุ่มว่าอย่างไร ก็คงไม่ต่างจากการที่คนคนหนึ่งถูกเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไป ้เพื่อนฝูงก็เรียกชื่อของคนๆนั้นอีกชื่อหนึ่ง พ่อแม่ของคนนี้เรียกอีกชื่อหนึ่ง เพื่อนร่วมชั้นเดียวกันยังเรียกชื่อคนคนเดียวชื่อไม่เหมือนกันเลย

ม้งเข้ามาครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อไรนั้น เราขออ้างอิง่ตามข้อมูลทั่วๆไปที่ได้มา คือช่วงต้นค.ศ. 1800s หรือประมาณช่วง พ.ศ.2300s ก็ถ้านับถึงวันนี้ก็ประมาณในช่วงสองร้อยกว่าปีที่ผ่านมา นั่นคือการเข้ามาของม้งที่มาจากจีนแล้วเข้ามาไทยโดยตรงครั้งแรก แต่นั่นก็เป็นความเห็นตามการกระบวนการคิดของดิฉันเอง และคิดว่าน่าจะเป็นไปอย่างนี้มากกว่าข้อที่จะว่าต่อไปนี้

ข้อมูลที่ปรากฎให้เห็นทั่วๆไปคือ ม้งมาจากจีน เข้ามาลาวก่อน แล้วค่อยแยกกันอยู่ในประเทศไทย ลาว พม่าต่อมา ..จะกล่าวไปก็คือ
หากตามนี้แล้วม้งในไทยเพิ่งเข้าไทยได้ไม่นานมาไม่นานเท่านั้นเอง ม้งส่วนหนึ่งในลาวหลังและก่อนจากสงครามเวียดนามเกิดขึ้น ช่วงปีค.ศ.๑๙๗๕ ม้งได้กระจายตัวเข้ามาในประเทศไทยในภายหลังเมื่อไม่กี่สามสิบปีที่ผ่านมาเอง การย้ายถิ่นของม้งมายังไทยต้องมีปรากฎมายาวนานกว่านี้นะ ดิฉันว่า

การย้ายภิ่นฐานของม้งหากพูดไปแล้ว จะไม่ได้แสดงถึงความน่าอายและแสดงถึงปมด้อยของคนม้ง แต่แสดงถึงเรื่องราวของการตายและความยากลำบากของม้งเรามากกว่า ทั้งนี้การย้ายถึงจึงเป็นเพียงทางหนึ่งที่ดีที่สุดที่เป็นทางแห่งความรอดของม้งเราเท่านั้น หากไม่ย้ายตามคำสั่งก้ต้องตาย หากย้ายแล้วไม่หนีก็ถูกฆ่า หากมัวแต่อยู่ที่เดิม ตอนนี้คนม้งคงไม่มี เพราะถุกกลืนแล้ว ม้งได้มีการย้า้ยถิ่นฐานมายาวนาน จนดูเหมือนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเพลงดั้งเดิมม้งที่พาดพิงถึงถิ่นรักบ้านเกิด การพรากพลาดปู่ย่าตายาย พ่อแม่ พี่น้อง และผู้เป็นที่รัก การย้ายถิ่นจึงดูเหมือนเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในประวัติศาสตร์ม้งเลยทีเดียว ี

การย้ายถิ่นของม้งดิฉันคิดว่าไม่ได้แสดงถึงสิ่งเหล่านั้นมากไปกว่าการย้ายถิ่นฐานเป็นไปเพราะเพื่อความอยู่รอดนะ ถึงทำให้ม้งเราจำเป็นต้องย้ายเพื่อที่จะดำเนินสืบตระกูลเราต่อไป สิ่งที่เราทำไปต้องมีเหตุผลซ ไม่ใช่อยู่ๆอยากย้ายไปไหนก็ไป เิหตุผลมีอยู่แล้ว แต่เราผู้ศึกษาตาไม่สว่างพอที่จะมองเห็นเหตุผลเหล่านั้นได้เองโดยตรงและง่ายดายเท่านั้น

เหตุผลชองการย้ายถิ่นของม้งในที่ดังกล่าวที่คุณได้ถามถึงนั้น ดิฉันเองไม่อาจตอบคุณได้ว่าเกืดอะไร ทำไมกับคนม้งกลุ่มนั้น ทำไมถึงไม่อยู่ในพื้นที่เหล่านั้น ดิฉันเองยังไม่ทราบด้วยซำ้ไปว่า ที่ที่คุณกล่าวมาเป็นสองที่ที่ม้งมาอยู่ในไทบครั้งแรกอยู่ แต่หากจะขอตอบบแบบมุมมองที่กว้างๆกว่านั้น เพื่อให้เกิดการมองภาพที่ทั่วไปขึ้น ดิฉันคิดว่ากาย้ายถิ่นของม้งนั้นเป็นเพราะสงคราม เป็นไปเพื่อการทำการเพาะปลูก เป็นไปเพราะการหนีโรคภัยไข้เจ็บ และเพราะความเชื่อที่มีผลต่อพื้นที่ี่ที่แห่งนั้น

สงคราม...การเกิดขึ้นสงครามในจีนหลายต่อหลายพันปีในจีน ส่งผลกระทบให้คนม้ง หรือแม้กระทั่งกลุ่มชาติพันธุ์อ่นต้องเดินทาง และตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา..ม้งเป็นกลุุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระัทบมากที่สุดในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ เนื่องจากเรามการปกครองของตัวเองมาก่อน มีผู้นำมาก่อน จึงทำให้จีนเกรงกลัวว่าี่ม้งจะมีกำลังต่อต้านสู้กัน เหตุนี้กำลังเราจึงถูกลดน้อยถอยลงจนไม่มีทางสู้ เราจึงถูกรุกรานมาโดยตลอด การรุกรานหมายถึง การถูกทำให้ย้ายถิ่น เราจำเป็นต้องย้ายอย่างนี้อยู่เรื่อยเพื่อสรรหาที่ที่เหมาะสำหรับเรา ม้งส่วนใหญ่ยังคงเห็นว่าจีนคือที่ที่สำหรับเขา เขาจึงไม่หนีออกมาจากจีน ม้งที่อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เห็นการอยู่ในจีนคงอยู่ไม่รอดแน่ จึงได้สร้างทางมายังที่ดังกล่าว
ทีนี้การย้ายที่ดังกล่าวในประเทศไทยที่คุณเอ่ยถึงบ้านดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย กับดอยอ่างข่าง จังหวัดเชียงใหม่นั้นคงไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องของสงครามมากไปกว่า
ความเชื่อของคนม้งและเพื่อการทำมาหากิน


ความเชื่อที่มีต่อของเจ้าที่เจ้าทางที่มีผลต่อการตั้งหมู่บ้านหรือบ้านมีผลต่อการย้ายถิ่น หมู่บ้านดังกล่าวอาจเป็นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานตามความเชื่อของม้งก็ได้ เราจึงต้องย้ายเพื่อความสบายใจ

โรคภัยไข้เจ็บก็เช่นกัน มีส่วนที่ทำให้เราต้องย้ายถิ่น เพราะม้งเราเชื่อว่า การย้ายถิ่นเป็นการหนีโรคภัย
ที่ที่แห่งนั้นเกิดโรคต่างๆอย่างนี้ได้ต้องมีเรื่องของศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง การเป็นไปของชิวิตผู้คนขึ้นอยู่กับผู้อยู่เบื้องบนและสิ่งสถิตทั่วไป ชิวิตความเป็นอยู่ของคนขึ้นอยู่กับมือของผู้อยู่เบื้องบนและสิ่งเหนือการมองเห็น ฉะนั้นการมีโรคภัยไข้เจ็บในหมู่ผู้คนเป็นการบังเกิดของผู้อยู่เบื้องบนและสิ่งสถิตเหล่านั้น

ม้งเราจะย้ายถิ่นเนื่องมาจากเหตุผลนี้ด้วยคือ เราเชื่ออีกว่าก็็เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่าพื้นที่ไม่เหมาะสมจึงเกิดปัญหาสังคม การเพาะปลูกไม่ได้ผล และโรคภัยไข่เจ็บอีก ทั้งหมดนี้พยายามจะโยงให้เห็นว่า การย้ายถิ่นของม้งได้มีความเชื่อของม้งเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นอันดับแรก หากไม่ได้รวมถึงการย้ายถิ่นเพราะสงครามในสมัยก่อน

การเพาะปลูกอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ม้งต้องย้ายจากที่หนึ่งไปที่หนึ่ง การสรรหาที่ดินใหม่ๆเพื่อการเพาะปลูกเป็นตัวชักนำให้เราย้านถิ่นกัน เพื่อชีวิตที่อยู่รอด และเพื่อการดำเนินชีวิตเท่านั้นเรามนุษย์ทุกคนจึงจำเป็นต้องดิ้นรนกับสภาพแวดล้อม แวดล้อมที่ดีย่อมให้การเพาะปลูกที่ดี เราไม่ได้เพียงคำนึงถึงควมเชื่อของเราอย่างเดียว แต่หลักการของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของโลกด้วยิ

จริงๆแล้วกลักของการตั้งถิ่นฐานของม้งนั้นก็มีหลักการดูทิศดูทางเช่นเดียวกัน แม้กระทั่งการสร้างบ้าน การหาที่เพาะปลูก ทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวันของม้งเรานั้นนอกจากจะได้รับการควบคุมโดยคำของคนเราแล้ว เรายังถูกควบคุมด้วยความเชื่อต่างๆเหล่านั้นด้วย
อันนี้ไม่รวมถึงม้งคริสเตียน และม้งที่ไม่รู้ และม้งที่ลืมสิ่งดั้งเดิมของตัวเองนะคะ

ทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวที่ประกอบกับการคิดตามข้อมูลที่พอมีอยู่ให้เราศึกษานะ
การที่นักวิชาการสักคนไม่สามารถตอบคำถามคุณได้ คุณก็พยายามช่วยหาคำตอบไปเรื่อยๆนะคะ
เอ...ว่าแต่ว่าแล้วคุณได้พบเจอกับนักวิชาการม้งตัวจริงหรือยังหล่ะ...
...นักวิชาการม้งหมายถึงใครหรอคะ...คนที่มีก้ารศึกษาอย่างมีรูปแแบบและไม่มีรูปแบบก็ได้ที่รู้เรื่องม้งเหรอ? หรือมีนักวิชาการเป็นม้งผู้ี่มีความเชี่ยวชาญด้านอื่นที่ไม่ใช่เกี่ยวกับม้ง?

หากคุณทราบหรือรู้จักท่านใดก็ขอให้ข้อมูลดิฉันด้วยนะคะ...จะเป็นประโยชน์ต่อดิฉันมากเลย
ดิฉันเองก็สนใจมากที่จะศึกษาเรื่องราวของตัวเองด้วยเหมือนกัน....อยากรู้จักเหมือนกัน
ขอบคุณมากนะคะ



โดย : Rain URL : http://www.hmongstime.blogspot.com เมื่อ วันอาทิตย์ ที่ 30 พฤศจิกายน 2551 เวลา 06:20:22 PM น. ip 117.99.55.5
ดูเพิ่มเติมได้ในส่วนของเนื้อหาทั้งหมดได้ที่ลิงค์นี้นะคะ
http://www.hilltribe.org/autopage/show_page.php?h=39&s_id=50&d_id=47

No comments:

My Friends' Blogs

India and I

  • There are alots of things which waiting for us to discover. All knowledge is not around us,but inside. It is depended upon our ability to realise and pick it up. The apple falls from the tree,and if Newton failed to learn from it,then the law of gravitation would have not been discovered!!!
  • India is the country of contrast. You often see someting beyound your expectation.Yet,and I found that there is a tool similar to Hmong's ones expecially the stick used for balancing the two baskets for carrying water. I observed that their's one is like ours only. In Hmong language we can read it phonetically as " / dΛ ŋ/ ". This attracts me to look forward for the connection.
  • India has also have a interesting story "Why corps in the filed do not come home themselves like in the past?" I have heard this story when I was a child. Thus when I came across this Indian legend ,it reminds me of the Hmong version. If you are interested you can check it out form my page in Thai text,otherwise you can surf it. This story creates another couriosity in me. I want to find out if we had been to India before we reached in China. Because the ICE AGE or the Peleolithic Age or The Earliest traces of human existance was in India.
  • India is where we Hmongs think that there are also Hmongs live in. But I have experienced that there is not Hmong Indian. Yet,there is a gruop of people who call themselves as "Mizo"(with the similarity of the Hmong's names given by the Han, i.e. Miao zu,Meo or even Mizo ) .But as far as I have learnt form my Mizo friends in college,our language is competely different to one another.Moreover, our dress also is different. However there are many Hmong researchers suggested me that there are Hmongs living in India,and yes, there are Hmongs living here, but only living for studying.
  • I was in debt to India. She educates,guides and teaches me how to be a great survior.
  • เป็นกำลังใจให้ทุกคนๆเดินออกมาพร้อมความสำเร็จนะ
  • ใครเรียนอยู่อินเดียบ้าง..ขอมือหน่อย