Tuesday, December 23, 2008

ทำไมเรียนกล่าวบทพิธีต่างๆมันยากนักยากหนา?


รูปแบบภาษาที่ใช้ในวงการต่างๆในภาษาม้งม้งเรามีภาษาที่ใช้ในลักษณะต่างกันขึ้นอยู่กับผู้รับสาร และจุดประสงค์ของผู้ส่งสาร

หมออัวเน้งสื่อสารกับผู้อยู่เบื้องบนสื่อสารด้วยภาษาที่เราคนทั่วไปฟังไม่ได้ความ ผู้เป่าแคนตีกลองในงานศพถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารกับศพ เราคนธรรมดาไม่รู้เหมือนกันว่าเค้าให้คำแนะนำอะไรบ้างกับศพเพื่อจะได้ไปเจอปู่ย่าตาายของตนผูประกอบพิธีการต่างๆใช้ภาษาที่พวกเราไม่คุ้นหูกันเอาเสียเลยด้วยสาเหตุอะไรกันหรือ ที่ฟังแล้วไม่เข้าใจอะไร อาจเป็นเพราะสาเหตุที่ว่าภาษาที่ใช้สือสารนั้นมีความยากอยู่ในตัวของมันเหรอ หรือด้วยเหตุประการใค บางคนตั้งใจเรียนคำกล่าวของพิธีต่างๆอย่างมีวามตั้งใจ แต่สุดท้ายก็ลืม จึงมีน้อยคนนักที่สามารถทำพิธีต่างๆเหล่านี้ได้
หากจะให้ดิฉันตอบคำถามตัวเองอ่ะนะ คงตอบว่า เพราะความยาก ความไม่คุ้นเคยของคำที่ใช้เหล่านั้น จึงทำให้กระบวนการเรียนรู้นั้นไม่ราบรื่น...แต่พอได้มาอ่านตำนนานของม้งเรื่องนี้แล้ว สามารถทำให้ดิฉันเกิดความพอใจในความสงสัยได้ดีเลยทีเดียว...จะลองแปลคราวๆให้ฟังนะ
แต่ก่อนนั้น ผู้คนหรือม้ง(ม้งแปลว่าคนได้เช่นกันในนัยหนึ่ง)ในโลกนี้ไม่มีภัยไข้เจ็บมาเยือนม้งเลย แต่ว่าครั้งหนึ่งพวกเขาได้ทำบางอย่างผิด แล้วเกิดอันตรสยต่อตัวเองณ ขระนั้นพวกเขาไม่สามารถที่จะรักษาเยี่ยวยาตัวเองให้พ้นจากโรคภัยอันตรายนี้ได้เลย จึงมีสองพี่น้อง-พี่ชายและน้องชายไปร่ำเรียนความรู้อาถาอาคามจากเหย่อเซ๊าเอาหล่ะ...ทีนี้เหย่อเซ๊า(Saub)ได้มอบหีบ๔หีบให้กับสองพี่น้องนี้ โดยหีบแต่ละกล่องต่างๆเหล่านี้เป็นหีบที่เก็บคำต่างๆที่ใช้ในสถานการณ์หรือพิธีการต่างๆของมันเท่านั้นหีบกล่องที่๑ มีคำที่ใช้สื่อสารกันในวงการเพื่อความสนุกสนาน kwv txhiajเป็นตัวอย่างหนึ่งของคำของกลุ่มนี้ ที่หนุ่มสามใช้กันเวลากล่องที่๒ มีคำที่ใช้เพื่อจูงใจให้คนสองคนมาอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข คำที่ใช้ในการประกอบพิธีการแต่งงานอยู่ในกล่องนี้( zaj tshoob)กล่องที่๓ เป็นกลุ่มของคำที่ใช้เมื่อมีคนเสียชีวิต( txiv xaiv)กล่องที่ ๔ บรรจุคำที่ใช้รักษาคนให้พ้นทุกขืพ้นภัย นั่นคือภาษาอาคม(khawv koob)
ในขณะที่เหย่อเซ๊ากำลังมอบหีบต่างเหล่านี้ให้กับเขาทั้งสองนั้น ท่านได้เตือนสองพี่น้องคู่นี้ว่า"จงอย่าเปิดหีบต่างเหล่านี้ในระหว่างทาง หากเมื่อไหร่ก็ตามที่ท่านถึงบ้านเมือ่นั้นเจ้าจะสามาถรรับรู้ได้ว่าคนไหนเป็นคนดีควรที่จะถ่ายทอดความรู้ให้" แต่แล้วในระหว่างทางด้วยความบังเอิญ มีเพื่อนบ้านคนหนึ่งที่เข้ามาทักว่าเอาอะไรมา แล้วรีบหยิบหีบกล่องหนึ่งไปเปิด คำต่างที่บรรจุอยู่ข้างในกล่องนี้ก็โดดกระจายกันออกมาทั่วทุกหนแห่ง จนทั้งคนไกล้คนไกลรู้กันหมดว่ามีคำต่างๆอะไรบ้างอยู่ในกล่องนั้น

กล่องที่ถูกเปิดนี้คือกล่องที่๑ ซึ่งมีคำในกลุ่มของคำที่ใช้เพื่อความสนุกสนาน ด้วยเหตุที่คำในกล่องนี้ถูกเปิดนี่เอง จึงทำให้เด็ก ผู้ใหญ่ คนชราก็สามารถเรียนรู้และรู้ และเข้าใจคำเหล่านี้อย่างง่ายดาย ส่วนในส่วนของคำที่ใช้ในการทำพิธีการแต่งงาน งานศพ และคาถาอาคมยังคงถูกเก็บไว้ในหีบอยู่จนถึงทุกวันนี้ เราจึงยากที่จะเรียนรู้มันอย่างง่ายดายเหมือนกล่องแรก (หีบทั้งสามเป็นหีบที่ใช้ดูแลผู้คนซึ่งต่างจากหีบแรกนะ..ว่ามั้ย)
จะว่าแล้วน่ะ...แม้กระทั่งtxiv xaivในสมัยนี้ก็ยังยากสำหรับม้งในปัจจุบันที่จะเรียนรู้เลย...ตัวตัวอย่างเช่นดิฉันเอง...ฝึกแล้วฝึกอีกก็แค่ได้หน้าลืมหล้ง แถมเสียงขึ้นลงตรงไหนก็ไม่รู้ ..เลยสงสัยอยู่เหมือนกันว่า ต้องมีคนได้จับคำในหีบนี้เข้าใส่กล่องหีบของมันแล้วมั้งถึงยากเย็ยหนักหนาอะไรอย่างนี้...หรือเป็นเพราะความไม่ใฝ่เรียนรู้หรือพยายามของเราเอง

เรื่องเล่าแปลมาจาก Khoua Ker Xiong, as told to McNamer 1986: 83
Ua tsaug ntau ntau nas.

Rainrai 24-ธันวาคม-08

No comments:

My Friends' Blogs

India and I

  • There are alots of things which waiting for us to discover. All knowledge is not around us,but inside. It is depended upon our ability to realise and pick it up. The apple falls from the tree,and if Newton failed to learn from it,then the law of gravitation would have not been discovered!!!
  • India is the country of contrast. You often see someting beyound your expectation.Yet,and I found that there is a tool similar to Hmong's ones expecially the stick used for balancing the two baskets for carrying water. I observed that their's one is like ours only. In Hmong language we can read it phonetically as " / dΛ ŋ/ ". This attracts me to look forward for the connection.
  • India has also have a interesting story "Why corps in the filed do not come home themselves like in the past?" I have heard this story when I was a child. Thus when I came across this Indian legend ,it reminds me of the Hmong version. If you are interested you can check it out form my page in Thai text,otherwise you can surf it. This story creates another couriosity in me. I want to find out if we had been to India before we reached in China. Because the ICE AGE or the Peleolithic Age or The Earliest traces of human existance was in India.
  • India is where we Hmongs think that there are also Hmongs live in. But I have experienced that there is not Hmong Indian. Yet,there is a gruop of people who call themselves as "Mizo"(with the similarity of the Hmong's names given by the Han, i.e. Miao zu,Meo or even Mizo ) .But as far as I have learnt form my Mizo friends in college,our language is competely different to one another.Moreover, our dress also is different. However there are many Hmong researchers suggested me that there are Hmongs living in India,and yes, there are Hmongs living here, but only living for studying.
  • I was in debt to India. She educates,guides and teaches me how to be a great survior.
  • เป็นกำลังใจให้ทุกคนๆเดินออกมาพร้อมความสำเร็จนะ
  • ใครเรียนอยู่อินเดียบ้าง..ขอมือหน่อย