Sunday, March 8, 2009

ไม่ไผ่....ม้งเรานำไปทำอะไรบ้าง


ไม้ไผ่นั้นถือว่าเป็นไม้ที่ชนเผ่าม้งนั้นนิยมนำมาใช้ประโยชน์กันมากในเรื่อง ของการสร้างบ้านสร้างอุปกรณ์ของใช้เครื่องตนตรีและอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้น จึงแสดงให้เห็นว่าหน้าที่ของไม้ไผ่แต่ละชนิดจะมีการใช้ต่างกันไปตามสภาพของ งานนั้นๆไผ่บางอย่างก็สามารถนำมาใช้แทนกันได้แต่ไผ่บางอย่างก็ไม่สามารถนำมา ใช้แทนกันได้เพราะคุณสมบัติแต่ละอย่างของไผ่ไม่เหมือนกัน เช่นความเหนียว ความหนา บาง ความทน ความสูง ขนาดใหญ่ เล็ก และลักษณะของลำไผ่ ไผ่ แต่ละชนิดจะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามการใช้ประโยชน์ ชื่อของไผ่หรืออุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของม้งนั้นถึงแม้จะเป็นม้งขาว เหมือนกันแต่อาศัยอยู่ต่างสถานที่อาจมีการใช้คำหรือศัพท์ที่ต่างกันไปบ้าง โดยไม่สามารถระบุว่าของใครถูกหรือผิด ศัพท์ที่เอามาใช้ในเรื่องนี้เป็นศัพท์ที่ใช้กันในเขตของหมู่บ้านโป่งนก อาจจะมีศัพท์ที่ใช้เพี้ยนไปจากบ้านอื่นไปบางคำ ก็ขอทำความเข้าใจให้ตรงกัน ณ ที่นี้ด้วย และคิดว่าการช็ประโยชนืส่วนใหญ่นั้นคงเหมือนๆกัน ดังต่อไปนี้


1. ไผ่ไร้ (ซ้ง กอ เจี๋ย) เป็น ไผ่ที่ขึ้นตามพื้นที่ทั่วๆไปที่ระดับความสูงไม่มากนักส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ ราบททั่วไป ชนเผ่าม้งนั้นมักจะนำมาทำเป็นด้ามมีด ด้ามจอบ ด้ามเสียม และตอกไว้สำหรับมัดสิ่งของต่าง
ลักษณะ ของต้นที่จะนำมาใช้ในแต่ละอย่างดังนี้ ลำต้นที่แก่ตรงและหนานั้นจะนำมาทำด้ามมีดจอบและเสียมเพราะหาง่าย ขั้นตอนการทำไม่ยาก มีความทน และเบาเมือเทียบกับไม่ชนิดอื่น
ลักษณะของต้นอ่อนมักจะนำมาทำตอกไว้สำหรับมัดสานกักดัก ดักนก ตอกสำหรับมัดสิ่งของต่างและในการใช้ประโยชน์ในเรื่องของการมัดนั้นมักจะใช้ เมื่อสดๆมากกว่าและไม่นิยมเก็บไว้ใช้เมื่อแห้งเหมือนกับไผ่ ชนิดอื่นๆเพราะเป็นไผ่ที่ไม่ค่อยเหนียว เหตุผลที่เรียกว่า “ซ้ง กอ เจี๋ย” เพราะว่าไผ่ไร้นั้นส่วนใหญ่นั้นม้งนิยมนำมาทำเป็นด้ามมีดจึงมีการทับศัพท์ไปตรงๆว่า “ซ้ง กอ เจี๋ย” ซึ่งแปลว่า“ไผ่ด้ามมีด”

2. ไผ่บง (ซ้ง ร้า ต้า) ) เป็นไผ่ที่ขึ้นตามพื้นที่ ที่มีความชื้นทั่วๆไป แต่ ส่วนมากแล้วมักจะพบขึ้นตามลำห้วยหรือในหุบเขาที่มีความชื้นมากๆ นิยมนำมาผ่าเป็นตอกเก็บไว้สำหรับมัดข้าว ฟางข้าว กระสอบ และทำลูกธนูหน้าไม่ ลักษณะของลำต้นที่นำมาใช้นั้นจะเป็นต้นหนุ่มที่ยังไม่มีใบเพราะจะผ่าง่าย เหนียวและเก็บไว้ใช้ได้นานแต่ก็มีบางคนนำต้นที่แก่มาใช้เป็นด้ามจอบเหมือนกัน

3. ไผ่เหี้ยะ (ซ้ง ปุ้ จือ จง) เป็น ไผ่ที่ขึ้นตามพื้นที่ที่เป็นหุบเขาและมีความชื่นสูงลักษณะข้อปล้องยาวบางและ ไม่ใหญ่เหมาะสำหรับทำแก้วขนาดเล็กชนเผ่าม้งนั้นนิยมตัดมาทำเป็นแก้วใน พิธีกรรมต่างๆเช่นพิธีแต่งงาน พิธีงานศพ ของสมัยก่อนและปัจจุบัน แต่ก็มีบางหมู่บ้านที่อยู่ในตัวเมืองที่เลิกใช้เพราะหาวัสดุได้ยาก

4. ไผ่ซาง (ซ้ง ดา) ) เป็น ไผ่ที่ขึ้นตามพื้นที่ทั่วๆไป ตามพื้นที่ราบและภูเขาจะพบมากที่สุดในพื้นที่ๆมีการตัดไม้ทำลายป่าเพราะเป็น พืชเบิกนำ ส่วนใหญ่แล้วจะมีการนำมาใช้ประโยชน์เหมือนๆกับชนเผ่าอื่นคือนำมาสร้างบ้าน ตัดเป็นท่อนๆแล้วผ่าเป็นไม้ฝา สร้างบ้านตามแบบฉบับและรูปทรงบ้าน ใช้แทนไม้แทบทุกอย่าง

5. ไผ่ตง (ซ้ง ตั๋ว จือ) ) เป็น ไผ่ที่ขึ้นตามพื้นที่สูงและมีความชื้นสูงมักจะพบแถบๆลำห้วย ในหุบเขาสูง มีหน่อที่ใหญ่และหวาน ลำต้นใหญ่ข้อปล้องใหญ่และยาว เหนียวมาก ถ้าเอามาทำเป็นไม้ฟากมอดจะชอบกินมากเพราะเป็นไผ่ที่หวานส่วนใหญ่ ชนเผ่าม้งจะนำมาผ่าเป็นตอกไว้สำหรับทำเครื่องจัดสานต่าง อาทิ เช่น กระดง ก๋วย เสื่อ เป็นต้น ถ้าพื้นที่ ไหนหายากก็จะใช้ไผ่ซางหรือไผ่อื่นๆแทนแต่ในเรื่องของความทนนั้นก็ตามคุณสมบัติของไผ่ชนิดนั้นๆ

6. ซ้ง เต็ง เป็นไผ่ที่ขึ้นตามหุบเขาในเขตพื้นที่สูงที่มีความชื้นสูงเท่านั้น จะมีข้อปล้องที่ยาวขนาดลำไม่ใหญ่มากนักเปลือกบางคล้ายๆกับ “ซ้ง ปุ้ จือ จง” ต่างจาก“ซ้ง ปุ้ จือ จง” ที่ข้อ และ“ซ้ง ปุ้ จือ จง” จะมีขนมากเมื่อต้นอ่อน แต่ ซ้ง เต็ง ไม่มีขน ชนเผ่าม้งนิยมนำมาทำเป็นเครื่องดนตรี เช่น ครุย แครน เป็นต้น

ขอขอบคุณข้อมุลและรูปภาพจากhttp://www.hilltribe.org/autopage/show_page.php?h=39&s_id=52&d_id=49

2 comments:

Anonymous said...

คุณเก่งมากเลยคุณเป็นม้งที่ฉันนับถือนะได้อ่านข้อความที่คุณเขียนแล้วยกนิ้วให้นนะ

Rainrai Xeem Yaaj said...

ขอบคุณมากที่มีความรู้สึกอย่างนั้นนะคะ
โดยส่วนตัวแล้ว.....เรามีความจำกัดในการแสดงความเห็น การระบายอารมณ์ในสังคม เราก็เลยสร้างพื้นที่เล็กน้อยนี้มาระบายอารมณ์หน่อย แค่นั้นเองค่ะ....

พูดคุย แลกเปลี่ยนกันได้นะคะ

ขอบคุณที่แวะเวียนมาให้กำลังใจค่ะ

My Friends' Blogs

India and I

  • There are alots of things which waiting for us to discover. All knowledge is not around us,but inside. It is depended upon our ability to realise and pick it up. The apple falls from the tree,and if Newton failed to learn from it,then the law of gravitation would have not been discovered!!!
  • India is the country of contrast. You often see someting beyound your expectation.Yet,and I found that there is a tool similar to Hmong's ones expecially the stick used for balancing the two baskets for carrying water. I observed that their's one is like ours only. In Hmong language we can read it phonetically as " / dΛ ŋ/ ". This attracts me to look forward for the connection.
  • India has also have a interesting story "Why corps in the filed do not come home themselves like in the past?" I have heard this story when I was a child. Thus when I came across this Indian legend ,it reminds me of the Hmong version. If you are interested you can check it out form my page in Thai text,otherwise you can surf it. This story creates another couriosity in me. I want to find out if we had been to India before we reached in China. Because the ICE AGE or the Peleolithic Age or The Earliest traces of human existance was in India.
  • India is where we Hmongs think that there are also Hmongs live in. But I have experienced that there is not Hmong Indian. Yet,there is a gruop of people who call themselves as "Mizo"(with the similarity of the Hmong's names given by the Han, i.e. Miao zu,Meo or even Mizo ) .But as far as I have learnt form my Mizo friends in college,our language is competely different to one another.Moreover, our dress also is different. However there are many Hmong researchers suggested me that there are Hmongs living in India,and yes, there are Hmongs living here, but only living for studying.
  • I was in debt to India. She educates,guides and teaches me how to be a great survior.
  • เป็นกำลังใจให้ทุกคนๆเดินออกมาพร้อมความสำเร็จนะ
  • ใครเรียนอยู่อินเดียบ้าง..ขอมือหน่อย